"การให้ทานในแบบของพระพุทธศาสนา"
สามารถอ่านได้ที่ด้านล่างเว็บนะครับ

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

การวิเคราะห์วิจารณ์พระไตรปิฎกเป็นการปรามาสพระรัตนตรัย




ถาม : สมัยอดีตกาลตอนที่พระพุทธเจ้าออกบวช ในโลกนี้มีศาสนาเดียวหรือหลายศาสนาครับ ?

ตอบ : มีมากมายหลายศาสนา มีการเชื่อถือและปฏิบัติแตกต่างกันไป แต่ว่าท้ายที่สุด ศาสนาพุทธที่ประกาศ อริยสัจ คือความจริงอันเจริญ สามารถครองใจคนได้ จนกระทั่งเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา เพราะว่าเป็นของจริงของแท้พิสูจน์ได้ทุกเวลา จำไว้นะว่า ศาสนาพุทธเป็นอริยสัจ คือความจริงอันเจริญ ให้ทำตามอย่างเดียว ไม่ต้องไปเสียเวลาไปวิเคราะห์วิจัย

สมัยนี้พวกเรียนหนังสือเรียนมากไป พยายามจะเอาปรัชญามาจากพุทธศาสนา ปรัชญาเป็นเรื่องที่ยกขึ้นมาถกเถียงกันยังไม่รู้ที่จบ ถ้าจบแล้วจะแยกออกเป็นศาสตร์ต่างๆ กันไป เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เป็นต้น ไม่ใช่ความจริงอย่างของพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนานั้นเป็นอริยสัจ พระพุทธเจ้าทรงค้นคว้ามาจนจบแล้ว ไม่ต้องเสียเวลาไปค้นคว้าถกเถียงกัน เรามีหน้าที่อย่างเดียวคือทำตาม แล้วผลจะเกิดเอง

มีคำกล่าวถึงพระพุทธศาสนาเอาไว้ในพระบาลีว่า "เกวลปริปุณณัง ปริสุทธัง" บริสุทธิ์บริบูรณ์แล้ว ตัดออกก็ขาด เติมเข้าก็เกิน ไม่ต้องไปยุ่งหรอก ทำตามอย่างเดียวก็พอ

สมัยนี้คนเก่งเยอะเขา วิเคราะห์พระไตรปิฎก กัน ...(หัวเราะ)... แค่นี้เราสู้ก็เขาไม่ได้แล้ว ลักษณะแบบนี้นอกจากจะเป็น "วิจิกิจฉา" แล้ว ยังเป็น "การปรามาสพระรัตนตรัย" อีกด้วย ไปวิเคราะห์พระไตรปิฎกกันว่า

ตรงจุดนี้คนทุกคนทำได้....เชื่อ

ตรงจุดนี้มีคนทำได้บ้าง ทำไม่ได้บ้าง...ละไว้ก่อน

ตรงจุดนี้คนโดยทั่วไปไม่สามารถทำได้...ก็ไม่เชื่อไปเลย

หลายท่านวิเคราะห์ว่า พระไตรปิฎกมาเขียนขึ้นในสมัยหลัง เป็นวิสัยของศิษย์ย่อมต้องสรรเสริญครูบาอาจารย์จนเกินจริงเป็นธรรมดา น่าทุบไหม ? คนเก่งมีมากขึ้นทุกที แต่มักจะเก่งในการหาทางไปนรก..!


สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๕

ที่มา  board.palungjit.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

การให้ทานในแบบของพุทธศาสนา

ในสเตตัสก่อนผมเขียนไว้ไม่ครบ
อาจทำให้หลายท่านเข้าใจผิดบางประเด็น
จึงขอแจกแจงให้ละเอียดขึ้นครับ

เมื่อพูดถึง ‘การให้ทานในแบบของพุทธ’
ต้องเข้าใจว่าไม่ได้หมายถึงการถวายสังฆทาน
แต่มุ่งเอา ‘จิตคิดให้ เพื่อสละความตระหนี่’ เป็นหลัก

แต่เมื่อกล่าวถึงอานิสงส์แก่ผู้ให้และผู้รับ
นับเอาความสุข ความเจริญ
ที่ผลิดอกออกผลในปัจจุบันกาลและอนาคตกาล
พระพุทธเจ้าก็ตรัสจำแนกแจกแจงไว้ดังนี้

ทานอันดับหนึ่ง ไม่มีอะไรชนะได้ คือธรรมทาน
(สัพทานัง ธัมมทานัง ชินาติ)
ธรรมทานคือการให้ความรู้ ให้มุมมอง ให้แรงบันดาลใจ
ที่จะนำไปสู่การมีที่พึ่งให้ตนเอง ทั้งในการใช้ชีวิตนี้
และการเวียนว่ายตายเกิดต่อๆไปในชีวิตหน้า
ยกเอาสิ่งที่จะทำให้เห็นชัดว่าทำไมธรรมทานจึงเป็นที่หนึ่ง
ต้องดูจากที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
การตอบแทนพ่อแม่อันสมน้ำสมเนื้อกับที่ท่านให้ชีวิตเรา
คือการทำให้พ่อแม่ (ซึ่งยังไม่เข้าใจธรรม)
ได้เกิดศรัทธาที่ตั้งมั่นในธรรม มีใจตั้งมั่นในทานและศีล
ถ้าทำได้ ก็เรียกว่าเป็นการให้ธรรมเป็นทานอันยิ่งใหญ่ที่สุด
เพราะช่วยผู้ให้กำเนิดชีวิตเรา ปลอดภัยในการเดินทางไกล
ต่อให้ลูกกตัญญู แบกพ่อแม่ไว้บนบ่าให้อึฉี่รดหัวเราตลอดอายุขัย
ก็ยังไม่ชื่อว่าตอบแทนได้เท่าการให้ธรรมเป็นทานแก่พวกท่าน

ทานอันดับสอง คือการรักษาศีล
เพราะเมื่อรักษาศีลแล้ว
สัตว์ที่มีสิทธิ์ได้รับความเดือดร้อนจากการเบียดเบียนของเรา
หรือคู่เวรที่จำต้องถูกเราประหัตประหารหรือทำร้ายกัน
ก็จะได้รับการปลดปล่อยจากเขตอันตราย
หรือได้รับการปกป้องให้ปลอดภัยจากศีลของเรา
แม้เขาทำให้เราผูกใจเจ็บ ก็ได้รับอภัยทานจากเรา
ไม่ต้องตีกันไปตีกันให้เจ็บช้ำน้ำใจกันยืดเยื้อต่อไปอีก

ทานอันดับสาม คือการให้ทรัพย์ ให้แรงงาน ให้กำลังสมอง
เมื่อให้สิ่งที่เรามีเป็นทาน ย่อมได้ชื่อว่าสละความหวงแหน
อันเป็นเหตุให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น
นับเป็นต้นทางหลุดพ้นจากการยึดติดผิดๆ

ประเด็นคือการให้ทรัพย์ ให้แรงงาน ให้กำลังสมองนั้น
ถ้าจะดูว่าให้กับใครจัดว่าให้ผลใหญ่ที่สุด
ก็ต้องมองว่า ‘ผู้มีจิตบริสุทธิ์’ หรือ ‘ผู้พยายามทำจิตให้บริสุทธิ์’
คือผู้ที่ทำให้เรารู้สึกดีที่สุด
ลองเทียบดูระหว่างช่วยพระกับช่วยโจร
อย่างไหนทำให้ปลื้มมากกว่ากัน

การทำทานกับสมณะในพุทธศาสนานั้น ถือว่าเลิศสุด
(ย้ำว่าในมุมมองของพุทธเรา)
ดังเช่นที่ในพระไตรปิฎกกล่าวไว้หลายแห่งว่า
เป็นเหตุให้มีจิตผูกพันกับพุทธศาสนา
เป็นปัจจัยให้เข้าถึงมรรคผลนิพพาน

ทั้งนี้ทั้งนั้น การช่วยทุกอย่าง มีผลดีหมด
อย่างเช่น ช่วยกลับใจโจร
ก็ได้ผลเป็นความไม่เดือดร้อนของเราเองในปัจจุบัน
และในกาลข้างหน้าเมื่อเราหลงผิด
ก็ย่อมมีผู้มาช่วยเปลี่ยนความคิดให้เห็นถูกเห็นชอบได้ง่าย เป็นต้น ครับ

ที่มา Dungtrin