"การให้ทานในแบบของพระพุทธศาสนา"
สามารถอ่านได้ที่ด้านล่างเว็บนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ใครวางก่อนก็สบายก่อน


พระอาจารย์ กล่าวว่า เรื่องของการไปอยู่วัด ปฏิบัติที่วัด อย่าไปตั้งความหวังไว้สูงว่าทุกอย่างต้องดี เกิดจาก ๒ สาเหตุด้วยกัน สาเหตุที่ ๑ ก็คือ ไม่ว่าสถานที่จะดีแค่ไหน ครูบาอาจารย์ดีแค่ไหน แต่คนที่อยู่ในที่นั่นก็ยังเป็น “คน” ในเมื่อยังเป็น “คน” อยู่ โอกาสที่ “คน” กับ “คน” จะกระทบกระทั่งกันก็เป็นเรื่องปกติ ถ้าเราไปตั้งความหวังเอาไว้สูง คิดว่าทุกคนจะต้องดีกับเราหมดอย่างกับเป็นพระอรหันต์ ก็ฝันไปเถอะ..!

ประการที่ ๒ ก็คือ บุคคลที่ตั้งใจปฏิบัติจริง มักจะเจอการทดสอบหนักๆ แล้วการทดสอบก็มาในแง่ของรัก โลภ โกรธ หลง ดังนั้น..จะไปอยู่ที่ไหนก็ตาม ต้องระมัดระวังตัวอยู่เสมอ ทำอย่างไรที่จะให้ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เราสามารถเอามาพัฒนา กาย วาจา ใจ ของเราให้ดีกว่าปัจจุบันให้ได้ ถ้าทำอย่างนั้นได้ ก็แปลว่าเราจะมีแต่ความก้าวหน้าส่วนเดียว ถือคติง่ายๆ แบบอาตมาตั้งแต่แรกคือ ใครวางก่อนก็สบายก่อน ใครไม่วางก็ช่างหัวมัน เชิญแบกไปเถอะ..!

ใหม่ๆ ไปอยู่วัด อาตมายังเป็นวัยรุ่น ขนาดตอนบวชอายุ ๒๗ เจอบางคนก็ยังเรียกว่าเณรอยู่เลย ตอนนี้ ๕๔ ปี ค่อยดูเป็นพระขึ้นมาหน่อยหนึ่ง ตอนนั้นหน้าตาไม่ให้ บุคลิกไม่ให้ แต่ดันเป็นคนไม่ค่อยชอบพูด เอาแต่ภาวนาอย่างเดียว คนอื่นเขาก็ยิ่งหมั่นไส้

จำได้ว่าปฏิบัติทุ่มเทกับหลวงพ่อจริงๆ ตอนอายุ ๑๖ ปี ก็คือปี ๒๕๑๘ มาเริ่มพูดกับมนุษย์มนาตอนอายุ ๒๕ ปี เวลา ๙ ปีเต็มๆ ที่ไม่ค่อยพูด เพราะมีความสุขอยู่กับการภาวนา คอยระมัดระวังรักษาอารมณ์ตัวเองไม่ให้เสีย ก็เลยกลายเป็นเหมือนหยิ่ง ไม่ยอมพูดกับใคร

แต่คราวนี้ช่วงก่อนหน้านั้นประมาณ ๑ ปี เริ่มเป็นครูสอนมโนมยิทธิ ครูเลิกสอนก็นั่งเงียบ ลูกศิษย์เขาสงสัยอะไรก็ไม่กล้าถาม แล้วไปถามคนอื่น คำตอบมาเข้าหูพอดี ฟังก็รู้ว่าไม่ใช่ ก็เลยมาคิดว่า เอ..แล้วเราจะทำอย่างไร ? เราจำเป็นต้องพูดแล้ว ถ้าไม่พูดเดี๋ยวพวกไม่รู้จริงจะพาลูกศิษย์เข้ารกเข้าพงหมด

เห็นพวกพี่ป้าน้าอาเขาจับกลุ่มคุยกันอยู่ ก็เลยไปนั่งร่วมวงกับเขาดื้อๆ “ขออนุญาตผมคุยด้วยได้ไหมครับ ?” เล่นเอาเขาแตกตื่นกันหมดทั้งวงเลย โดยเฉพาะ ป้าน้อย (กานดา) แกประเภทเป็นคนพูดอะไรไม่เกรงใจใครอยู่แล้ว “แหม...ไอ้หนู ป้าคิดว่าชีวิตนี้เอ็งจะไม่พูดกับใครแล้ว” ตั้งแต่นั้นมาก็ค่อยๆ หัดพูด คำว่าหัดพูดก็คือ ต้องตั้งสติระมัดระวังไว้ว่า สิ่งที่เราพูดควรจะเป็นประโยชน์กับผู้อื่นเขา ไม่อย่างนั้นจะเป็นวาจาไร้ประโยชน์

ก็เลยเป็นอะไรที่ตลกมาก ใครที่เคยพบอาตมาตอนก่อนอายุ ๒๕ ปี เขาไม่เชื่อหรอกว่าปัจจุบันนี้จะมานั่งพูดได้ทั้งวัน สมัยนั้นเอาแต่นั่งอมลิ้นมากกว่า

สนทนากับพระครูวิลาศกาญจนธรรม (พระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ)
ณ บ้านวิริยบารมี ต้นเดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๖

ที่มา - 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

การให้ทานในแบบของพุทธศาสนา

ในสเตตัสก่อนผมเขียนไว้ไม่ครบ
อาจทำให้หลายท่านเข้าใจผิดบางประเด็น
จึงขอแจกแจงให้ละเอียดขึ้นครับ

เมื่อพูดถึง ‘การให้ทานในแบบของพุทธ’
ต้องเข้าใจว่าไม่ได้หมายถึงการถวายสังฆทาน
แต่มุ่งเอา ‘จิตคิดให้ เพื่อสละความตระหนี่’ เป็นหลัก

แต่เมื่อกล่าวถึงอานิสงส์แก่ผู้ให้และผู้รับ
นับเอาความสุข ความเจริญ
ที่ผลิดอกออกผลในปัจจุบันกาลและอนาคตกาล
พระพุทธเจ้าก็ตรัสจำแนกแจกแจงไว้ดังนี้

ทานอันดับหนึ่ง ไม่มีอะไรชนะได้ คือธรรมทาน
(สัพทานัง ธัมมทานัง ชินาติ)
ธรรมทานคือการให้ความรู้ ให้มุมมอง ให้แรงบันดาลใจ
ที่จะนำไปสู่การมีที่พึ่งให้ตนเอง ทั้งในการใช้ชีวิตนี้
และการเวียนว่ายตายเกิดต่อๆไปในชีวิตหน้า
ยกเอาสิ่งที่จะทำให้เห็นชัดว่าทำไมธรรมทานจึงเป็นที่หนึ่ง
ต้องดูจากที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
การตอบแทนพ่อแม่อันสมน้ำสมเนื้อกับที่ท่านให้ชีวิตเรา
คือการทำให้พ่อแม่ (ซึ่งยังไม่เข้าใจธรรม)
ได้เกิดศรัทธาที่ตั้งมั่นในธรรม มีใจตั้งมั่นในทานและศีล
ถ้าทำได้ ก็เรียกว่าเป็นการให้ธรรมเป็นทานอันยิ่งใหญ่ที่สุด
เพราะช่วยผู้ให้กำเนิดชีวิตเรา ปลอดภัยในการเดินทางไกล
ต่อให้ลูกกตัญญู แบกพ่อแม่ไว้บนบ่าให้อึฉี่รดหัวเราตลอดอายุขัย
ก็ยังไม่ชื่อว่าตอบแทนได้เท่าการให้ธรรมเป็นทานแก่พวกท่าน

ทานอันดับสอง คือการรักษาศีล
เพราะเมื่อรักษาศีลแล้ว
สัตว์ที่มีสิทธิ์ได้รับความเดือดร้อนจากการเบียดเบียนของเรา
หรือคู่เวรที่จำต้องถูกเราประหัตประหารหรือทำร้ายกัน
ก็จะได้รับการปลดปล่อยจากเขตอันตราย
หรือได้รับการปกป้องให้ปลอดภัยจากศีลของเรา
แม้เขาทำให้เราผูกใจเจ็บ ก็ได้รับอภัยทานจากเรา
ไม่ต้องตีกันไปตีกันให้เจ็บช้ำน้ำใจกันยืดเยื้อต่อไปอีก

ทานอันดับสาม คือการให้ทรัพย์ ให้แรงงาน ให้กำลังสมอง
เมื่อให้สิ่งที่เรามีเป็นทาน ย่อมได้ชื่อว่าสละความหวงแหน
อันเป็นเหตุให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น
นับเป็นต้นทางหลุดพ้นจากการยึดติดผิดๆ

ประเด็นคือการให้ทรัพย์ ให้แรงงาน ให้กำลังสมองนั้น
ถ้าจะดูว่าให้กับใครจัดว่าให้ผลใหญ่ที่สุด
ก็ต้องมองว่า ‘ผู้มีจิตบริสุทธิ์’ หรือ ‘ผู้พยายามทำจิตให้บริสุทธิ์’
คือผู้ที่ทำให้เรารู้สึกดีที่สุด
ลองเทียบดูระหว่างช่วยพระกับช่วยโจร
อย่างไหนทำให้ปลื้มมากกว่ากัน

การทำทานกับสมณะในพุทธศาสนานั้น ถือว่าเลิศสุด
(ย้ำว่าในมุมมองของพุทธเรา)
ดังเช่นที่ในพระไตรปิฎกกล่าวไว้หลายแห่งว่า
เป็นเหตุให้มีจิตผูกพันกับพุทธศาสนา
เป็นปัจจัยให้เข้าถึงมรรคผลนิพพาน

ทั้งนี้ทั้งนั้น การช่วยทุกอย่าง มีผลดีหมด
อย่างเช่น ช่วยกลับใจโจร
ก็ได้ผลเป็นความไม่เดือดร้อนของเราเองในปัจจุบัน
และในกาลข้างหน้าเมื่อเราหลงผิด
ก็ย่อมมีผู้มาช่วยเปลี่ยนความคิดให้เห็นถูกเห็นชอบได้ง่าย เป็นต้น ครับ

ที่มา Dungtrin