"การให้ทานในแบบของพระพุทธศาสนา"
สามารถอ่านได้ที่ด้านล่างเว็บนะครับ

วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วิธีการน้อมนึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ให้ได้


วิธีนึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์



ถาม : การที่นึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ หนูคิดเอาเองว่าต้องรบกวนคนที่ได้มโนมยิทธิ พาไปนิพพานเมืองแก้วหรือเปล่าเจ้าคะ ?

ตอบ : ไม่ต้องจ้ะ

ถาม : เพราะปุถุชนอย่างหนู ถ้าพูดถึงนิพพาน หนูก็นึกไม่ออกว่าเป็นอย่างไร ?

ตอบ : ไม่จำเป็น นึกถึงพระพุทธรูปไว้ว่า คือองค์แทนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านไม่อยู่ที่ไหนหรอก นอกจากพระ

นิพพาน เราเห็นท่านคืออยู่กับท่าน เราอยู่กับท่านคือเราอยู่บนพระนิพพาน คิดแค่นี้พอ

ถาม : แล้วมโนมยิทธินี่ช่วยเหลือคนให้เห็น จะได้หายสงสัย ใช่ไหมคะ ?

ตอบ : ไม่ใช่ช่วยจ้ะ ทำให้ได้ แล้วก็รู้เห็นเอง คนอื่นทำได้เขารู้เห็น เขาหายสงสัยคนเดียว ถ้าเราทำไม่ได้ เราถามไปเรื่อย ไม่หมดความสงสัย

หรอก เพราฉะนั้นต้องทำให้ได้เอง เมื่อเรารู้เห็นจะได้หมดความสงสัย

ถาม : มโนมยิทธิเป็นการทำสมาธิอย่างหนึ่ง ?

ตอบ : จ้ะ

ถาม : ภาวนา นะ มะ พะ ทะ

ตอบ : จ้ะ

ถาม : ปกติทุกวันนี้ที่หนูทำเอง ก็ดูลมหายใจเข้าออก ก็บริกรรมบ้าง ไม่บริกรรมบ้าง แต่พยายามให้รู้ลมหายใจเข้าออก ถ้าหากจะเจริญมโน

มยิทธิก็ภาวนาระหว่างที่ดูลมหายใจ ?

ตอบ : จ้ะ ก็แค่เพิ่มคำภาวนาเข้าไป ลมหายใจเข้าออกทิ้งไม่ได้อยู่แล้วจ้ะ ยกเว้นมีครูฝึกมาอยู่ตรงหน้า เขาบอกให้หยุดภาวนา เราก็เลิกคิดถึง

ตรงนั้น หันมาสนใจกับครูฝึกแทน

ถาม : หนูยังไม่ค่อยกล้า หนูกลัวเห็นอะไรที่ตัวเองตั้งสติไม่ทัน ภาวนาเพื่อจะฝึกมโนมยิทธิ ทางที่ดีควรจะมีครูบาอาจารย์ใช่ไหมคะ

ตอบ : ? จ้ะ คือน้อยคนที่ทำได้เอง

ถาม : ระหว่างที่ทำ เราอาจจะเห็นนิมิตหลอกเรา จิตที่เราปรุงแต่งหลอกเราให้เห็นด้วย

ตอบ : อันนั้นก็มีอยู่ ขณะเดียวกันถ้าเราใช้มโนมยิทธิที่มีครูฝึกควบคุมอยู่ ท่านจะคอยบอกเราว่าควรจะทำอย่างไร ควรจะไปที่ไหน ถ้าอย่างนั้น

ไม่ต้องไปกลัวว่าจะเจอสิ่งที่มาหลอก แต่ถ้าหากถึงเวลาไปทำคนเดียวนั้น โอกาสนั้นจะมี จะมีโอกาสโดนเขาหลอก เขาแกล้งได้ แต่ท่านจะมี

หลักการอยู่แล้วว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราเห็นนั้น อย่าเพิ่งเชื่อ ให้ตั้งใจอธิษฐานว่า ขอรู้เห็นตามสภาพความเป็นจริง ถ้าหากเราอธิษฐานขอรู้

เห็นตามความเป็นจริง ถึงเวลาจะรู้เห็นตามความเป็นจริงนั้น

ถาม : ดูใจตัวเอง บางทีเหมือนกับมีภาพ มีเสียงมา บางทีก็จริงบ้าง ไม่จริงบ้าง (ไม่ชัด) ต้องมีสติเจ๋งๆ เข้มๆ ถึงจะหาย

ตอบ : ไม่ใช่จ้ะ สติเข้มหรือไม่เข้ม ถ้าทำถึงตรงนั้น ก็เป็น แต่ให้เข้าใจเลยว่าเรารู้เห็น เรารู้เห็นจริงๆ แต่เรื่องที่เรารู้เห็นไม่แน่ว่าจะจริงสมมติว่า

เราเห็นคนไล่ยิงไล่ฟันกันมา เราเองอาจจะโทรแจ้งตำรวจหรือเข้าไปขัดขวาง ปรากฎว่าโดนเขาไล่เตะเอา เพราะเขากำลังถ่ายหนังอยู่ เราเห็น

เขาฆ่ากันจริงๆ ไหมล่ะ ? แล้วเรื่องที่เราเห็นนั้นเป็นเรื่องจริงไหม ?

ถาม : บางครั้งหนูรู้สึกรำคาญตัวเองเหมือนกันค่ะ บางทีก็เหมือนมาพูดกับเรา บางทีก็เหมือนกับเราเห็น

ตอบ : จ้ะ รับรู้ไว้เฉยๆ ถ้าเป็นไปตามนั้น แล้วค่อยน้อมใจเชื่อ แต่การน้อมใจเชื่อคือเชื่อเรื่องนั้น เรื่องที่เป็นไปแล้ว เรื่องที่ยังไม่เป็นต่อให้รู้มา

พร้อมกัน ก็อย่าเพิ่งเชื่อ ถ้าทำใจอย่างนี้ได้ เขาหลอกเราไม่ได้ ส่วนใหญ่เราจะไปเชื่อเลย

ถาม : แล้วเมื่อไหร่จะหายคะ ?

ตอบ : ไม่หายจ้ะ ยกเว้นว่าเรามั่นคงถึงขนาดที่ทำให้อย่างไรเขาก็หลอกเราไม่ได้ ต่อไปเขาก็เลิก แต่จะไปรู้เห็นเรื่องอื่นแทน

ถาม : เหมือนเงาที่มันอยู่ในน้ำ พอน้ำกระเพื่อมเงาก็หายไป ความรู้สึกก็เลยบอกว่า บางครั้งสิ่งที่มันเกิดเรารู้ไม่ทัน ถ้าเรารู้ทันว่ามันเกิดขึ้นได้

อย่างไร เราดับตรงนั้นได้มันก็ไม่มีปัญหา ?

ตอบ : ใช่ หมดเรื่องเลย จุดสำคัญที่สุดของอารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลง มันอยู่ตรงตัวจิตที่ปรุงแต่ง ถ้าเราหยุดคิดไม่ไปปรุงแต่งต่อไม่มีปัญหา

แต่ส่วนใหญ่มันหยุดไม่ทัน มันต้องเห็นตั้งแต่เหตุ กระทบตากระทบหูปุ๊บ ต้องรู้ทันแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น เสร็จแล้วก็หยุดมันเอาไว้แค่นั้น ถ้าเรา

เก็บมันมาไว้ในใจ เราคิดต่อเมื่อไหร่เป็นอันตรายกับเราทันที

ถาม : ไม่ให้คิด ยาก ?

ตอบ : คิดได้ แต่หยุดคิดให้เป็น ถ้าหยุดคิดไม่เป็นไปยาวเลย



สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๖(ต่อ)
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ

ที่มา http://board.palungjit.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

การให้ทานในแบบของพุทธศาสนา

ในสเตตัสก่อนผมเขียนไว้ไม่ครบ
อาจทำให้หลายท่านเข้าใจผิดบางประเด็น
จึงขอแจกแจงให้ละเอียดขึ้นครับ

เมื่อพูดถึง ‘การให้ทานในแบบของพุทธ’
ต้องเข้าใจว่าไม่ได้หมายถึงการถวายสังฆทาน
แต่มุ่งเอา ‘จิตคิดให้ เพื่อสละความตระหนี่’ เป็นหลัก

แต่เมื่อกล่าวถึงอานิสงส์แก่ผู้ให้และผู้รับ
นับเอาความสุข ความเจริญ
ที่ผลิดอกออกผลในปัจจุบันกาลและอนาคตกาล
พระพุทธเจ้าก็ตรัสจำแนกแจกแจงไว้ดังนี้

ทานอันดับหนึ่ง ไม่มีอะไรชนะได้ คือธรรมทาน
(สัพทานัง ธัมมทานัง ชินาติ)
ธรรมทานคือการให้ความรู้ ให้มุมมอง ให้แรงบันดาลใจ
ที่จะนำไปสู่การมีที่พึ่งให้ตนเอง ทั้งในการใช้ชีวิตนี้
และการเวียนว่ายตายเกิดต่อๆไปในชีวิตหน้า
ยกเอาสิ่งที่จะทำให้เห็นชัดว่าทำไมธรรมทานจึงเป็นที่หนึ่ง
ต้องดูจากที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
การตอบแทนพ่อแม่อันสมน้ำสมเนื้อกับที่ท่านให้ชีวิตเรา
คือการทำให้พ่อแม่ (ซึ่งยังไม่เข้าใจธรรม)
ได้เกิดศรัทธาที่ตั้งมั่นในธรรม มีใจตั้งมั่นในทานและศีล
ถ้าทำได้ ก็เรียกว่าเป็นการให้ธรรมเป็นทานอันยิ่งใหญ่ที่สุด
เพราะช่วยผู้ให้กำเนิดชีวิตเรา ปลอดภัยในการเดินทางไกล
ต่อให้ลูกกตัญญู แบกพ่อแม่ไว้บนบ่าให้อึฉี่รดหัวเราตลอดอายุขัย
ก็ยังไม่ชื่อว่าตอบแทนได้เท่าการให้ธรรมเป็นทานแก่พวกท่าน

ทานอันดับสอง คือการรักษาศีล
เพราะเมื่อรักษาศีลแล้ว
สัตว์ที่มีสิทธิ์ได้รับความเดือดร้อนจากการเบียดเบียนของเรา
หรือคู่เวรที่จำต้องถูกเราประหัตประหารหรือทำร้ายกัน
ก็จะได้รับการปลดปล่อยจากเขตอันตราย
หรือได้รับการปกป้องให้ปลอดภัยจากศีลของเรา
แม้เขาทำให้เราผูกใจเจ็บ ก็ได้รับอภัยทานจากเรา
ไม่ต้องตีกันไปตีกันให้เจ็บช้ำน้ำใจกันยืดเยื้อต่อไปอีก

ทานอันดับสาม คือการให้ทรัพย์ ให้แรงงาน ให้กำลังสมอง
เมื่อให้สิ่งที่เรามีเป็นทาน ย่อมได้ชื่อว่าสละความหวงแหน
อันเป็นเหตุให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น
นับเป็นต้นทางหลุดพ้นจากการยึดติดผิดๆ

ประเด็นคือการให้ทรัพย์ ให้แรงงาน ให้กำลังสมองนั้น
ถ้าจะดูว่าให้กับใครจัดว่าให้ผลใหญ่ที่สุด
ก็ต้องมองว่า ‘ผู้มีจิตบริสุทธิ์’ หรือ ‘ผู้พยายามทำจิตให้บริสุทธิ์’
คือผู้ที่ทำให้เรารู้สึกดีที่สุด
ลองเทียบดูระหว่างช่วยพระกับช่วยโจร
อย่างไหนทำให้ปลื้มมากกว่ากัน

การทำทานกับสมณะในพุทธศาสนานั้น ถือว่าเลิศสุด
(ย้ำว่าในมุมมองของพุทธเรา)
ดังเช่นที่ในพระไตรปิฎกกล่าวไว้หลายแห่งว่า
เป็นเหตุให้มีจิตผูกพันกับพุทธศาสนา
เป็นปัจจัยให้เข้าถึงมรรคผลนิพพาน

ทั้งนี้ทั้งนั้น การช่วยทุกอย่าง มีผลดีหมด
อย่างเช่น ช่วยกลับใจโจร
ก็ได้ผลเป็นความไม่เดือดร้อนของเราเองในปัจจุบัน
และในกาลข้างหน้าเมื่อเราหลงผิด
ก็ย่อมมีผู้มาช่วยเปลี่ยนความคิดให้เห็นถูกเห็นชอบได้ง่าย เป็นต้น ครับ

ที่มา Dungtrin