"การให้ทานในแบบของพระพุทธศาสนา"
สามารถอ่านได้ที่ด้านล่างเว็บนะครับ

วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเอาจิตเกาะพระนิพพานโดยมโนมยิทธิ เป็นการตัดกิเลสที่ง่ายที่สุด



ถาม : ไปนั่งสมาธิอยู่หน้าพระพุทธองค์เจ้าค่ะ พอจิตอยู่ในสภาพนี้ กายของตัวเองเริ่มเปลี่ยนเป็นกายที่ใสๆ แล้วเปลี่ยนเป็นองค์พระเจ้าค่ะ แล้วสักพักก็มีแสงเป็นสีรุ้งรอบๆ ก็เลยสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นไม่เข้าใจ ?

ตอบ : ไม่เกิดอะไรขึ้นจ้ะ

อย่าลืมว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้อยู่ที่ไหนนอกจากพระนิพพาน การที่เราส่งกำลังใจขึ้นพระนิพพาน เป็นการตัดกิเลสโดยอัตโนมัติและง่ายที่สุด เพราะ ว่าตัว รัก โลภ โกรธ หลง ต่างๆ เป็นสมบัติของร่างกาย ถ้าไม่มีใจซึ่งเป็นตัวคอยปรุงแต่งเพิ่มเติมไป คอยที่จะกระตุ้นเร้าอยู่ กิเลสพวกนี้ก็ต้องดับลงไปเองตามธรรมชาติอยู่แล้ว เพราะเป็นของที่ไม่ยั่งยืน อยู่นานไม่ได้

หลวงพ่อฤๅษีท่านสอนมโนมยิทธิ ให้พวกเรารู้จักพระนิพพาน ไปพระนิพพานได้ เพราะเป็นการตัดกิเลสที่ง่ายที่สุด ไม่มีวิธีไหนง่ายกว่านี้อีกแล้ว

หลวงพ่อท่านเคยเล่าให้ฟังว่า มีระยะหนึ่งมีพระสำเร็จอรหันต์ ๗ องค์พร้อมๆ กัน ปรากฏว่าท่านมาศึกษา มโนมยิทธิ ไปจาก วัดท่าซุง แล้วท่านก็ตั้งหน้าตั้งตาเอาใจเกาะพระบนนิพพานอย่างเดียว พอถามท่านว่า "เป็นพระอรหันต์ได้อย่างไร ?" ท่านบอก "ก็ไม่รู้..อยู่ๆ ก็เป็นเอง"

ลักษณะอย่างนี้เพราะ การที่เราเอาจิตเกาะนิพพาน สภาพจิตจะแจ่มใส กิเลสกินเราไม่ได้ พอนานไปความเคยชินเกิดขึ้น จิตใจผ่องใสมากขึ้นเรื่อยๆ กิเลสก็จะหมดไปเองโดยอัตโนมัติ

จุดนี้คือที่จุด สำคัญที่สุด ของ โนมยิทธิ ที่หลวงพ่อฤๅษีท่านต้องการให้พวกเราทำ
ท่านไม่ได้ให้เราเอาไปฟื้นความสัมพันธ์กับคนอื่น ท่านสอนให้เราละ แต่ส่วนใหญ่จะเอาไปยึด รีบๆ ทำเข้า ตอนนี้มาตรงทางแล้ว วิธีนี้แหละ ทำบ่อยๆ เข้าอีกไม่นาน คงจะได้เผากันแน่..!

ถาม : ....พอทำถึงตรงนี้มีความรู้สึกว่าตอนนี้เรามีชีวิตอยู่เพื่อหน้าที่ๆ เราจะต้องทำ ทำตามหน้าที่ๆ ควรจะทำ แล้วก็ไม่มีความหวังที่จะอยากได้อะไร หรือเป็นอะไร ดูว่างๆ ไม่เข้าใจว่า...?

ตอบ : ...(หัวเราะ)... เข้าใจจ้ะ ไม่ต้องอธิบายจ้ะ ตอนนี้ ถ้าหากว่ารักษาอารมณ์ใจนั้นได้ เราก็ จะอยู่เหนือบุญเหนือบาป รู้ว่าอันนี้ดีก็ทำ รู้ว่าอันนี้ชั่วก็ละ จิตไม่เกาะทั้งดีทั้งชั่ว ไม่กลัวตาย ไม่อยากตาย แต่พร้อมที่จะตายได้ทุกเวลา ถ้าหากว่างานของตัวเองหมด ก็จะไปทันทีเลยจ้ะ

ถาม :แบบนี้หรือเจ้าคะ ?

ตอบ : จ้ะ....เพราะฉะนั้น..รีบหางานให้เยอะๆ เข้าไว้ ...(หัวเราะ)... กำลังใจของคนที่ทำถึงจุดนี้ ถ้ากำลังใจตั้งตรงจุดจริงๆ ไม่มีใครเขาอยากอยู่กันหรอก

ถาม : แล้วจิตเราสบายดีนะเจ้าคะ ?

ตอบ : วะ..! ไม่สบายใครเขาจะทำกันเล่า

ถาม : ...ทำต่อหรือเจ้าคะ ?

ตอบ : ทำต่อจ้ะ ถึงตอนนี้เราจะเข้าใจชัดเจนว่า จริงๆ แล้วนิพพานไม่เห็นต้องยึดต้องเกาะอะไร เพราะเต็มอยู่ในใจของเราเอง ตายเมื่อไหร่เราก็รู้ว่าเราไปพระนิพพานแน่ พูดให้คนอื่นฟังมามากแล้ว เขาคลำตรงนี้ไม่ค่อยถูกกัน ...

แรกๆ ก็ต้องอาศัยเกาะก่อน เหมือนเกาะราวบันไดเดินขึ้นบันไดมา เราเกาะเพื่อความมั่นคง แต่พอถึงห้องข้างบนแล้ว เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องแบกราวบันไดไปด้วย เพราะเราถึงแล้วนี่...

ดัง นั้น..เมื่อถึงตอนนี้ อารมณ์พระนิพพานจะเต็มอยู่ในใจของเราเอง ในเมื่อเต็มอยู่ในใจของเราเอง เราก็จะเกิดความมั่นใจขึ้นมาว่า ตายตอนนี้เราก็นิพพานตอนนี้ ไม่เห็นจะต้องไปยึดไปเกาะอะไรอีกแล้ว


สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๕
ที่มา http://board.palungjit.com

วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ภาวนาให้เป็นเพื่อหนีความทุกข์ของโลก




ภาวนาเพื่อหนีความทุกข์

ถาม : มีอยู่วันหนึ่ง มีความรู้สึกว่าไม่สบาย เวียนหัว แล้วพอไปเข้าห้องน้ำ แล้วรู้สึกหน้ามืด พอหน้ามืดตอนนั้น จิตฉุกคิดขึ้นมาว่า ที่เราเป็นอย่างนี้ เพราะมีร่างกาย พอคิดอย่างนี้แล้วรู้สึกมืดไปหมดเลย ไม่รู้ตัว ?

ตอบ : อย่างนั้นแสดงว่ากำลังใจของเราใช้ได้จ้ะ เวลาเกิดเวทนา เกิดความเจ็บไข้ได้ป่วยกับร่างกายขึ้นมา เราสามารถนึกถึงข้อธรรมคำสอนได้อะไรได้ ตอนนั้นถ้าตั้งใจหน่อยเดียวว่า ถ้าตายตอนนี้เราขอไปพระนิพพาน ก็สบายเลย

แบบนี้แสดงว่าลูกพ่อจริงๆ หลวงพ่อวัดท่าซุง ท่านก็ไปหน้ามืดอยู่ในห้องน้ำ แล้วท่านไม่ได้หน้ามืดเฉยๆ แต่หล่นจากโถส้วมไปกองกับพื้นเลย เสร็จแล้วท่านก็อุตส่าห์พยายามทรงตัวถอดกลอนออกมา แล้วมาหมอบอยู่หน้าห้องน้ำ ท่านบอกว่า เดี๋ยวคนไปลือว่าข้าตายคาโถส้วม ลูกศิษย์จะขายหน้าเขา ก็เลยตะกายออกมาตายข้างนอก หมดลมอยู่พักหนึ่ง พระท่านไล่กลับมา ก็เลยต้องฟื้นใหม่

ถาม : แล้วตอนนั้นที่รู้สึกว่ามืดไปนั้นเป็นอย่างไรคะ ?

ตอบ : มีอยู่สองอย่างจ้ะ คือ สติขาดไป เพราะเวทนาที่เกิดขึ้นบีบคั้น อีกอย่างหนึ่งก็คือ พอเป็นฌานอยู่บ้าง แต่ว่าสติตามไม่ทัน ก็ตัดไปเฉยๆ ลักษณะนั้นเหมือนกับวูบไป อาการใกล้เคียงกันมาก ต้องสังเกตดูให้ดี แต่ว่าถ้าทำในลักษณะนั้นได้ก็สบายใจได้เลยว่า อย่างน้อยกำลังใจของเราน่าจะเกาะความดีได้อยู่บ้าง แต่อย่าไปประมาทนะ หมั่นทำบ่อยๆ

อาตมาตอนป่วยหนักคราวก่อนนี้ เกาะไม่ปล่อยเลย เขาจะหามไปเผาทิ้งเสียแล้ว ถึงเวลาอาการเจ็บไข้ได้ป่วยเกิดขึ้นหนักๆ ถึงเวลาก็จับอารมณ์ภาวนาเพื่อหนีความทุกข์ของร่างกาย ปรากฏว่าจับแน่นไป เขาจะเอาไปเผาเสียแล้ว อย่าพยายามเลียนแบบจ้ะ คนไม่เข้าใจเขาเอาไปเผาแล้วจะยุ่ง

ถาม : แต่ก่อนที่จะวูบไป จิตรู้ตัวว่าเวียนหัว แต่ไม่มีความทุกข์ ?

ตอบ : จ้ะ เรารู้เท่าทัน แต่ขณะเดียวกัน จิตก็พร้อมที่จะรับ ตอนนั้นนึกถึงพระได้เลยจ้ะ ถ้าหากว่าเราตายตอนนี้ ขอไปอยู่กับพระที่พระนิพพานกับท่านแล้วกัน ทำอารมณ์ใจสบายๆ จะเป็นจะตายก็ปล่อยไป ถ้าลืมตาตื่นขึ้นมา เราก็ทุกข์ต่อไป ถ้าไม่ลืมตาตื่นขึ้นมาเราก็สบายไปเลย อาตมาพยายามทำหลายครั้งแล้ว ตื่นทุกครั้งเลย


สนทนากับพระครูวิลาศกาญจนธรรม (พระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ)
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนมิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๕

ที่มา board.palungjit.com

เมตตากับกรุณา เหมือนหรือต่างกันอย่างไร


เมตตากับกรุณา ต่างกันอย่างไร ?


ถาม: เมตตากับกรุณา ต่างกันอย่างไร ?

ตอบ: เมตตารักเขาเหมือนตัวเรา กรุณาสงสารอยากให้เขาพ้นทุกข์ ต่างกันมากไหม ?

ตัวเมตตาประกอบไปด้วยความหวังดี เราดีอย่างไร ก็อยากให้เขาดีอย่างเรา คือรักเขาเหมือนตัวเราเอง เป็นความรักแท้ ๆ ไม่ใช่ประเภทรักเพราะอำนาจของราคะจริต เมตตาด้วยความรักและหวังดีจริง ๆ ตัวกรุณาคือ ความสงสาร เห็นเขามีทุกข์อยู่ก็อยากให้พ้นทุกข์

ถ้ามุทิตาคือ ยินดีเมื่อเขาอยู่ดีมีสุข เห็นคนขับรถเบนซ์มา เออหนอ...เขาทำบุญมาดีถึงมีรถเบนซ์ขับ แทนที่จะไป แหม...เมื่อไรเราจะมีรถเบนซ์ขับอย่างนั้นบ้าง ถ้าเป็นแบบนี้ไม่ใช่แล้ว มุทิตาต้องดีใจ เออ..เขามีรถเบนซ์ขี่ เขาทำบุญมาดี น่าปลื้มใจจังเลย ฉะนั้น...เราจะต้องทำบุญให้ดี เพื่อจะได้มีอย่างเขาบ้าง ไม่ใช่เมื่อไรจะมีอย่างเขาหรือไม่มีบ้างก็แล้วไป

สนทนากับพระครูวิลาศกาญจนธรรม (พระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ)
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๕

ที่มา board.palungjit.com


วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การปฏิบัตินั้นขึ้นอยู่กับจริตและความถนัดของแต่ละท่าน



การปฏิบัติสมาธิไม่ให้สนใจในร่างกาย

ถาม : อย่างผม ถ้านั่งขัดสมาธิตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่จำความได้เลย ไม่เกิน ๑๕ นาที นี่แค่นั่งก็เจ็บแล้ว ไม่เกิน ๑๕ นาทีก็จะชา หรือแม้กระทั่งนั่งพับเพียบก็ตาม ถ้านั่งพิงหลังเสียหน่อย อย่างเก่ง ๓๐ นาทีนี่ก็ โอ้โห ! หนักแล้ว แต่พอนั่งที่มันสบายๆ บางทีมันก็หลับ เรามีวิธีหรืออุบายอะไรที่จะให้มันนั่งได้ดีที่สุด ?

ตอบ: เอาแบบหลวงปู่ฝั้น มั้ยล่ะ ? ของท่านนั่งทีไรหลับทุกที ท่านเองรำคาญขึ้นมา ก็เลยเอาปี๊บไปตั้งไว้ขอบเหว นั่งอยู่บนตูดปี๊บ กะว่าถ้ามันสัปหงกก็ให้หัวทิ่มลงเหวตายไปเลย อย่างนั้น ท่านบอก แหม ! กำลังใจมันรวมตัวดีเหลือเกินวันนั้น ภาวนาได้ดีเป็นพิเศษ (หัวเราะ)

แต่ว่าไอ้เรื่องของร่างกาย จริงๆ แล้วการปฏิบัติเขาไม่ให้สนใจในร่างกาย ถ้าเราไม่สนใจมัน พอเกินครึ่งชั่วโมงไปมันจะลืมความรู้สึกอันนั้น พอลืมความรู้สึกอันนั้น มันก็แปลก คราวนี้มันจะทรงตัวยาวเท่าไหร่ก็ตาม ถ้าหากมันเลยไอ้ตัวเจ็บตัวปวดนั่นไป แล้วถ้าหากถอนกำลังใจมาเมื่อไหร่ มันลุกเดินได้เดี๋ยวนั้นเลย แต่ถ้าหากเรานั่งอยู่ในระดับครึ่งชั่วโมงหรือชั่วโมงนี่ลุกขึ้นมากว่าจะขยับได้ เหน็บมันกินนานมาก

ถาม : มันทั้งเจ็บ ทั้งปวด ถึงขนาดนั้นเลย ?

ตอบ: ใช่ ถ้าหากว่าเป็นสายของหลวงปู่มั่น ท่านจะดูตัวเวทนา คือความรู้สึกเจ็บปวดที่มันเกิดขึ้น ท่านจะดูเวทนานี้เป็นของเราจริงหรือ ?

ถาม : แล้ววิธีอย่างนี้ ทางหลวงพ่อ... ?

ตอบ: ของหลวงพ่อท่านไม่แนะนำ ท่านบอกว่าถ้าเมื่อยก็ให้ขยับเปลี่ยนท่าได้ แต่ให้ประคองกำลังใจไว้ให้ดี ท่านบอกว่าร่างกายของมันเกิดอาการเจ็บปวดขึ้นมา ถ้าจิตบางคนไปกังวลอยู่กับมัน มันจะไม่ได้อะไรเลย มันจะไปกลุ้มอยู่กับอาการปวด การเมื่อย การชาของร่างกายแทน เพราะฉะนั้นหลวงพ่อท่าน ท่านบอกให้ขยับได้เลย แต่ว่าก่อนขยับนี่ ให้ตั้งกำลังใจให้ดี อย่าเผลอให้มันเคลื่อน ตั้งกำลังใจทรงตัว มั่นใจว่าไม่เคลื่อนแล้วเราค่อยๆ ขยับเปลี่ยนท่าของเราไป อาตมาทุกวันนี้ที่นั่งอยู่นี่ ก็อยู่ประมาณ ๑๕ นาทีจะขยับทีหนึ่ง จนกระทั่งบางทีลูกศิษย์เขาสงสงสัยว่า อาจารย์ทำไมขยับบ่อยจัง บอก เออ ! เดี๋ยวเอ็งแก่เท่าข้าก็รู้เอง

ถาม : ของผมเอง ตอนปฏิบัติไม่ถูกก็ไม่รู้ว่าสมาธิดีๆ มันคืออะไร แต่พอขยับมันก็มีความรู้สึกบอกตัวเองว่า เรายังไม่มีสมาธิสักที ?

ตอบ: เคยทำอยู่ ประเภทว่านั่ง ๓ ชั่วโมง ๕ ชั่วโมง อะไรอย่างนั้น ก็กล้ายืนยันได้เต็มปากเต็มคำว่า ถ้ามันเลยอาการเจ็บปวดนั้นไปแล้ว จะนั่งไปสัก ๓ วัน ๓ คืน มันก็อยู่ของมันได้ แล้วมันแปลกดีนะ ว่าถอนจิตออกมาปุ๊บนี่ มันลุกเดินได้เลย มันเหมือนกับร่างกายไม่ได้รับการกดทับอะไรมาก่อนเลย เป็นเรื่องประหลาดดีเหมือนกัน มันจะลุกเดินได้เดี๋ยวนั้นเลย แล้วจะรู้สึกตัวเบาเป็นพิเศษด้วย คล้ายๆ กับว่าถึงตอนนั้นแล้ว สภาพจิตมันสามารถคุมร่างกายได้หรือไง ก็บอกไม่ถูก แต่ว่าถ้าหากยังอยู่ในระดับครึ่งชั่วโมงหรือชั่วโมงหนึ่งนี่ ถ้าลุกขึ้นนี่เหน็บกินนานเลย แต่ว่า แหม ! เจ้าประคุณเถอะ อีตอนที่มันทรมานมากๆ นี่มันเหมือนกระดูกจะแตกเป็นชิ้นๆ ก้นมันเหมือนกับบางลงๆ กระดูกจะทะลุออกมาข้างนอกก้นอย่างนั้นน่ะ โอ้โห ! มันทั้งเจ็บทั้งแสบ ทั้งร้อน บอกไม่ถูก คำพูดที่จะอธิบายเป็นภาษามนุษย์มันคงอธิบายไม่ได้หรอก แต่เคยลองดูแล้ว รสชาติมันเด็ดขาดดีมากเลย สารพัดความรู้สึกทรมาน มันจะมารวมอยู่ที่เดียว

ถาม : บางทีก็รู้สึกแปลกใจว่า ร่างกายเราก็ไม่ได้เป็นโรคอะไรร้ายแรง แต่ทำไมนั่งแล้วมันเป็นทุกข์ได้ขนาดนี้ ?

ตอบ: ถ้าเป็นสายของหลวงปู่มั่น ท่านจะดูทุกข์ ดูเวทนา ก็จำเป็นต้องบังคับให้นั่งนานๆ แต่ถ้าของหลวงพ่อนี่ท่านจะให้เปลี่ยนท่าไปเลย

ถาม : ของผมบางทีไม่มาที่นี่ก็มักจะไปที่อื่น คือก่อนจะรู้จักที่นี่ ก็ไปที่อื่นก็ถามไปเรื่อย บางทีไปก็ไม่ได้คุยกับหลวงปู่ หลวงพ่อ อะไรมากมาย เดินๆ อยู่ในวัด มันก็รู้สึกสบายใจ ?

ตอบ: อย่างน้อยๆ กระแสของสถานที่ มันไม่มากไปด้วยรัก โลภ โกรธ หลง เหมือนอย่างกับทั่วๆ ไป ถึงมันจะมีอยู่บ้าง มันก็ไม่หนักเท่า ในเมื่อสถานที่ที่มีกระแสที่ดี มันก็เลยพาให้เราสงบไปได้เร็ว ยิ่งเป็นสถานที่สำคัญมีพระพุทธรูปสำคัญ มีหลวงปู่ หลวงพ่อที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ กำลังใจมันรวมตัวปั๊บเลย ให้นั่งอยู่นานเท่าไหร่ก็อยู่ได้ สบายใจ สถานที่สำคัญๆ หลายแห่ง ตามพระธาตุ ตามเจดีย์ หรือตามสถานที่มีพระพุทธรูปสำคัญอยู่ ไปเมื่อไหร่ก็สบายเมื่อนั้น


สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๕
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

คาถาพาหุงมหากา พร้อมวิธีสวด และ คำแปล



ชัยชนะของพระพุทธเจ้าอันเป็นมงคล

คาถาพาหุง หลวงพ่อจรัญ " พระพุทธคุณ อาตมาสังเกตมาว่า บางคนเขาไปหาหมอดูเคราะห์ร้ายก็ต้องสะเดาะเคราะห์ อาตมาก็มาดูเหตุการณ์โชคลางไม่ดีก็เป็นความจริงของหมอดู อาตมาก็ตั้งตำราขึ้นมาด้วยสติ บอกว่าโยมไปสวดพุทธคุณเท่าอายุให้เกินกว่า ๑ ให้ได้ เพื่อให้สติดี แล้วสวด คาถาพาหุง 

"พาหุงมหากา" หายเลยสติก็ดีขึ้นเท่าที่ใช้ได้ผลสวดตั้งแต่ นะโม พุทธัง ธัมมัง สังฆัง พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ พาหุงมหากา จบแล้วย้อนกลับมาข้างต้น เอาพุทธคุณห้องเดียว ห้องละ ๑ จบ ต่อ ๑ อายุ อายุ ๔๐ สวด ๔๑ ก็ได้ผล "

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

๑. พุทธคุณ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ

๒. ธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ

๓. สังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ


๑. พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๒. มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๓. นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๔. อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโย ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๕. กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๖. สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๗. นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๘. ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ
คาถาพาหุง ถ้าสวดให้คนอื่นใช้คำว่า เต สวดให้ตัวเองใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า)

๕. มหาการุณิโก
มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา
ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง
นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ
พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง
สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ
จารีสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง
มโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัดเถ ปะทักขิเณฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
* ถ้าสวดให้คนอื่นใช้คำว่า เต สวดให้ตัวเองใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า)
กราบ ๓ ครั้ง เสร็จแล้วสวดเฉพาะพุทธคุณ ดังต่อไปนี้
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชา จาระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัม มะสาระถิ สัตถาเทวะ มะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
ให้สวดพุทธคุณเกินอายุ ๑ จบ เช่น อายุ ๒๘ ปี ให้สวด ๒๙ จบ
เมื่อสวดพุทธคุณครบตามจำนวนจบที่ต้องการแล้ว จึงตั้งจิตแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศลดังนี้
คาถาแผ่เมตตาตนเองอะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
อะหัง นิททุกโข โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์
อะหัง อะเวโร โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร
อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ
ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุขใจ รักษากายวาจาใจให้พันจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด
แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ 
สัพเพสัตตา สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิดฯ
บทกรวดน้ำ (อุทิศส่วนกุศล)
อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
- ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า จงมีความสุข
อิทัง เม ญาตินัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
- ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุข
อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา
- ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แด่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ เทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา
- ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลาย ขอให้เทวดาทั้งหลายจงมีความสุข
อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
- ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เปรตทั้งหลาย ขอให้เปรตทั้งหลาย จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ เวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี
- ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงมีความสุข
อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพสัตตา
- ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข
<<จบบทสวด>>

--------------------------------------------------------------

คาถาพาหุงฯ พร้อมคำแปล

พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท 
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคลานิฯ 
พระจอมมุนี ได้เอาชนะพระยามารผู้เนรมิตแขนมากตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ ขี่ช้างครีเมขละ มาพร้อมกับเหล่าเสนามารซึ่งโห่ร้องกึกก้อง ด้วยวิธีอธิษฐานถึงทานบารมี เป็นต้น, 
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ 

มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท 
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ 
อนึ่งพระจอมมุนี ได้เอาชนะยักษ์ชื่อ อาฬวกะ ผู้มีจิตหยาบกระด้าง ผู้ไม่มีความอดทน มีความพิลึกน่ากลัวกว่าพระยามาร ซึ่งได้เข้ามาต่อสู้อย่างยิ่งยวดจนตลอดคืนยันรุ่ง ด้วยวิธีทรมานอันดี คือ ขันติ ความอดทน, 
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ 

นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท 
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ 
พระจอมมุนี ได้เอาชนะช้างตัวประเสริฐ ชื่อ นาฬาคิรี ที่เมายิ่งนัก และแสนจะดุร้าย ประดุจไฟป่าและจักราวุธและสายฟ้า ด้วยวิธีรดลงด้วยน้ำ คือ ความมีพระทัยเมตตา, 
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ 

อุกขิตตะขัคคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท 
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ 
พระจอมมุนี ทรงคิดจะแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ จึงได้เอาชนะโจรชื่อ องคุลิมาล ผู้แสนจะดุร้าย มีฝีมือ ถือดาบวิ่งไล่พระองค์ไปสิ้นระยะทาง ๓ โยชน์, 
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ 

กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฎฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท 
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ 
พระจอมมุนี ได้เอาชนะคำกล่าวใส่ร้ายของ นางจิญจมาณวิกา ซึ่งทำอาการเหมือนดั่งตั้งครรภ์ เพราะเอาท่อนไม้กลมผูกไว้ที่หน้าท้อง ด้วยวิธีทรงสมาธิอันงาม คือ ความกระทำพระทัยให้ตั้งมั่นนิ่งเฉย ในท่ามกลางหมู่ชน, 
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ 

สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท 
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ 
พระจอมมุนี ผู้รุ่งเรืองด้วยแสงสว่าง คือ ปัญญา ได้เอาชนะ สัจจกะนิครนถ์ ผู้มีความคิดมุ่งหมายในอันจะละทิ้งความสัตย์ มีใจคิดจะยกถ้อยคำของตนให้สูงประดุจยกธง และมีใจมืดมนยิ่งนัก ด้วยการแสดงเทศนาให้ถูกใจ, 
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ 

นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธีนา ชิตะวา มุนินโท 
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ 
พระจอมมุนี ได้เอาชนะพญานาคราช ชื่อ นันโทปนันทะ ผู้มีความรู้ผิด มีฤทธิ์มาก ด้วยวิธีบอกอุบายให้พระโมคคัลลานเถระพุทธชิโนรส แสดงฤทธิ์เนรมิตกายเป็นนาคราช ไปทรมานพญานาค ชื่อ นันโทปนันทะ นั้น, 
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ 

ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทะพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท 
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
พระจอมมุนี ได้เอาชนะพระพรหมผู้มีนามว่า ท้าวผกาพรหม ผู้มีฤทธิ์ คิดว่าตนเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์ ผู้ถูกพญานาครัดมือไว้แน่น เพราะมีจิตคิดถือเอาความเห็นผิด ด้วยวิธีวางยา คือ ทรงแสดงเทศนาให้ถูกใจ, 
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ 

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา
โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะมยยะ นะโร สะปัญโญ ฯ 
บุคคลใดมีปัญญา ไม่เกียจคร้าน สวดและระลึกถึงพรุพุทธชัยมงคล ๘ คาถาเหล่านี้ทุกๆ วัน บุคคลนั้นจะพึงละความจัญไรอันตรายทั้งหลายทุกอย่างเสียได้ และเข้าถึงความหลุดพ้น คือ พระนิพพานอันบรมสุข นั้นแลฯ 


ที่มา

วิธีการใช้หนี้พ่อแม่:ฉบับหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน


หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน

1. จงสร้างความดีให้กับตัวเอง และนี่ก็เป็นการใช้หนี้ตัวเอง ตัวเราพ่อให้หัวใจ แม่ให้น้ำเลือดน้ำเหลืองอยู่ในตัวแล้ว จะไปแสวงหาพ่อที่ไหน จะไปแสวงหาแม่ที่ไหน บางคนรังเกียจแม่ ว่าแก่เฒ่าไม่สวยไม่งาม พอตัวเองแก่ก็เลยถูกลูกหลานรังเกียจ จึงเป็นกงกรรมกงเกวียนยืดเยื้อกันต่อไปอีก
2. ใครที่คุณแม่ล่วงลับไปแล้ว
ก็ให้หมั่นทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ท่าน และถ้าจะทำบุญด้วยการเจริญกรรมฐาน แล้วอุทิศส่วนกุศลไป การทำเช่นนี้ถือว่าได้บุญมากที่สุด ทั้งฝ่ายผู้ให้และผู้รับ
3. ผู้ใดก็ตาม
ที่คุณแม่ยังมีชีวิตอยู่ ก็ให้กลับไปหาแม่ ไปกราบเท้าขอพรจากท่าน จะได้มั่งมีศรีสุข ส่วนคนที่เคยทำไม่ดีไว้กับท่าน ก็นำเทียนแพไปกราบขออโหสิกรรม ล้างเท้าให้ท่านด้วย เป็นการขอขมาลาโทษฯ
4. ขอฝากท่านไว้ไปสอนลูกหลาน
อย่าคิดไม่ดีกับพ่อแม่เลย ไม่ต้องถึงกับฆ่าหรอก แค่คิดว่าพ่อแม่เราไม่ดี จะทำมาหากินไม่ขึ้น เจ๊ง ท่านต้องแก้ปัญหาก่อนคือ ถอนคำพูด ไปขอสมาลาโทษเสีย แล้วมาเจริญกรรมฐาน รับรองสำเร็จแน่ มรรคผลเกิดแน่ ฯ
5. บางคนลืมพ่อลืมแม่
อย่าลืมนะการเถียงพ่อเถียงแม่ไม่ดี ขอบิณฑบาต สอนลูกหลานอย่าเถียงพ่อเถียงแม่ อย่าคิดไม่ดีกับพ่อกับแม่ ไม่อย่างนั้นจะก้าวหน้าได้อย่างไร ก้าวถอยหลังดำน้ำไม่โผล่ ฯ

ท่านยกตัวอย่าง (เรื่องจริงนะจ๊ะ) ตัวอย่าง ที่ 1 บ้านหนึ่งพ่อมีเมีย ๔ คน เมียหลวงบอกลูกว่าพ่อเจ้าไม่ดี ลูกก็ไปด่าพ่อว่าพ่อ แล้วมาบวชวัดนี้ บวชแล้วเดี๋ยวเป็นโน่นเป็นนี่ จนจะกลายเป็นโรคประสาท นี่แหละบวชก็ไม่ได้ผล หลวงพ่อก็ให้ไปถอนคำพูด และขอสมาลาโทษกับพ่อเขาก่อน แล้วกลับมานั่งกรรมฐานจึงได้ผล (กรณีนี้ หลวงพ่อจะเตือนผู้เป็นลูกบ่อยๆไม่ให้ว่าพ่อ) แต่ให้เป็นเรื่องของแม่ที่จะแก้ปัญหานี้ ซึ่งหลวงพ่อสอนไว้แล้ว

ตัวอย่าง ที่ 2 เมื่อเร็วๆนี้ลูกฆ่า แม่สงสารพามาเจริญกรรมฐานพอเข้าวัดมันร้อนไปหมด ปวดหัวเข้าไม่ได้นี่เวรกรรมตามสนอง ปิตุฆาต มาตุฆาต ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน ทำกรรมฐานไม่ได้แน่นอน ต้องหันรถกลับ นี่เรื่องจริงในวัดนี้ ฯ


6. คนที่มีบุญวาสนา จะกตัญญูกับพ่อแม่ คนเถียงพ่อเถียงแม่เอาดีไม่ได้…….. คนไม่พูดกับพ่อแม่ นั่งกรรมฐานร้อยปี ก็ไม่ได้อะไร? ถ้าไม่ขออโหสิกรรม ฯขออโหสิกรรม ที่คิดไม่ดีกับพ่อแม่ คิดไม่ดีกับครูบาอาจารย์ คิดไม่ดีกับพี่ๆน้องๆ จะไม่เอาอีกแล้ว เอาน้ำไปขันหนึ่ง เอาดอกมะลิโรย กายกัมมัง วจีกัมมัง มโนกัมมัง โยโทโส อันว่าโทษทัณฑ์ใด ความผิดอันใด ที่ข้าพเจ้าพลั้งเผลอสติไป ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ขอให้คุณพ่อคุณแม่ คุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยาย คุณพี่คุณน้อง อโหสิกรรมให้ด้วย แล้วเอาน้ำรดมือรดเท้า ฯ

นี่แหละ ท่านทั้งหลายเอ๋ย เป็นหนี้บุญคุณพ่อแม่มากมาย ยังจะไปทวงนาทวงไร่ ทวงตึก มาเป็นของเราอีกหรือ ตัวเองก็พึ่งตัวเองไม่ได้ สอนตัวเองไม่ได้ เป็นคนอัปรีย์จัญไรในโลกมนุษย์ไปทวงหนี้พ่อแม่ พ่อแม่ให้แล้ว (ให้ชีวิต ให้…ให้… ให้….ฯลฯ ) เรียนสำเร็จแล้ว ยังช่วยตัวเองไม่ได้ มีหนี้ติดค้าง รับรองทำมาหากินไม่ขึ้น ฯ


หนี้บุญคุณอันยิ่งใหญ่ เหลือจะนับประมาณ
นั่นคือหนี้บุญคุณของบิดา มารดา

ตัวอย่าง ที่ 3 "หนามแหลมใครเสี้ยม มะนาวกลมเกลี้ยงใครไปกลึง" เด็กประถม ๔ พ่อเมาเหล้า เมากัญชาเล่นการพนัน แม่เล่นหวย ปัจจุบันเป็นดอกเตอร์อยู่อเมริกา หลวงพ่อสอนครั้งเดียวจำได้ บอกวันเกิด หนูซื้อขนม ๒ ห่อ เรียกพ่อแม่มานั่งคู่กัน แล้วกราบนะลูกนะ แล้วก็บอกพ่อแม่ว่า ความผิดอันใดที่ลูกพลั้งเผลอ ด้วยกาย วาจา ใจ ที่คิดไม่ดีต่อคุณพ่อคุณแม่ ขอให้คุณพ่อคุณแม่อโหสิกรรมให้ แล้วล้างเท้าให้พ่อแม่ ลูกไม่มีสตางค์ ลูกซื้อขนมมา ๒ ห่อ ให้แม่ก่อน ๑ ห่อ เพราะอุ้มท้องมา แล้วจึงให้พ่ออีก ๑ ห่อ ลูกขอปฏิญาณตนว่า ลูกขอเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ แล้วจะเป็นศิษย์ที่ดีของครูบาอาจารย์ ลูกจะไม่ทำให้พ่อแม่ผิดหวัง... พ่อฟังแล้วน้ำตาร่วงสร่างเมา ส่วนแม่ก็ร้องไห้เลย พ่อแม่ก็ให้สัญญากับลูกเลิกอบายมุขทั้งหมด

7. ลูกหลานโปรดจำไว้
เมื่อแยกครอบครัวไปมีสามีภรรยาแล้ว อย่าลืมไปหาพ่อแม่ ถึงวันว่างเมื่อไรต้องไปหาพ่อแม่ ถึงวันเกิดของลูกหลาน อย่าลืมเอาของไปให้พ่อแม่รับประทาน อย่ากินเหล้า เข้าโฮเต็ล
8. ชื่อที่พ่อแม่ตั้งให้เป็นมงคลนาม
ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน เพราะชื่อเป็นเพียงนามสมมุติแทนตัวเรา อย่างหลวงพ่อชื่อจรัญ ปู่ตั้งให้ หมอดูบอกเป็นกาลกิณี แต่ทำไมเจริญรุ่งเรือง ขอให้เชื่อพระพุทธเจ้าทำดีได้ดี
9. ของดี ของ ปู่ ย่า ตา ยาย อย่าไปทำลายเลย
ของพ่อแม่อย่าไปทำลายนะ หนีได้แน่นอน โยมมีกรรมฐาน มีทรัพย์ มีชื่อเสียง ความรัก บูชาทรัพย์ บูชาชื่อเสียง ความรักของพ่อแม่ได้ เงินจะไหลนองทองจะไหลมา......... พ่อแม่ให้อะไรเอาไว้ก่อน อย่าไปทำลายเสีย ถึงจะเป็นถ้วยพ่อแม่ให้มา ก็ไว้เป็นที่ระลึกก็ยังดีอย่าเอาไปทิ้งขว้าง ฯ
10. ถ้าต้องการเจริญก้าวหน้าขอฝากไว้ด้วย คนเรามี ๒ ก้าว จะก้าวขึ้นหรือก้าวลงดำน้ำไม่โผล่ ก้าวลงมันง่ายดี ก้าวขึ้นมันต้องยาก ของชั่วมันง่าย หลั่งไหลไปตามที่ต่ำ นี่บอกสอนลูกหลาน ต้องการจะบรรจุงานไม่ต้องไปวิ่งเต้น ดูลูกเสียก่อน กุศลเพียงพอหรือเปล่า ต้องเพิ่มกุศล ตัวอย่างเรียนจบครู สวดมนตร์เข้าเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นครู ทำงานธนาคารก็ได้ บริษัทก็ได้เดี๋ยวมีคนรับ บางรายทั้งสอบทั้งสมัครหลายแห่งไม่เคยเรียกเลย อาตมาให้นั่งกรรมฐาน พอ ๗ วันผ่านไปพวกมาตามให้เข้าไปทำงานแล้ว

ที่มา blog.eduzones.com

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

อานิสงส์คาถาอุณหิสสวิชัย



อานิสงส์คาถาอุณหิสสวิชัย
     ในสมัยหนึ่งพระบรมศาสดาเสด็จประทับอยู่เหนือพระแท่นศิลาอาสน์ภายใต้ต้นปาริกชาติ ณ ดาวดึงสพิภพ ตรัสพระสัทธรรม เทศนา อภิธรรม 7 คัมภีร์ โปรดพุทธมารดา

     ในกาลครั้งหนึ่งนั้นมีเทพบุตรองค์หนึ่ง นามว่าสุปติฏฐิตา ได้เสวยทิพย์สมบัติอยู่ชั้นดาวดึงส์มาช้านาน ก็อีก 7 วัน จะสิ้นบุญจุติจากดาวดึงส์ ลงไปอุบัติในนรกเสวยทุขเวทนาอยู่ตลอดแสนปี ครั้นสิ้นกรรมในนรกนั้นแล้วก็จะไปบังเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน 7 จำพวก เสวย วิบากกรรมอยู่ 500 ชาติ ทุกๆจำพวก

     ยังมีเทพบุตรองค์หนึ่งชื่อว่า อากาสจารินี ซึ่งเป็นผู้รู้ บุรพกรรมของสุปติฏฐิตาเทพบุตร อาศัยความคุ้นเคยสนิทสนมกลมเกลียวกันตั้งแต่ครั้งเป็นมนุษย์ เคยได้รักษาอุโบสถศีลด้วยกันในอดีตชาติล่วงมาแล้ว มองเห็นอกุศลกรรมตามทัน จะสนองผลแก่สหายของตนก็มีจิตปรานีใคร่จะอนุเคราะห์

     จึงเข้าไปสู่สำนักของสุปติฏฐิตาเทพบุตร แล้วก็บอกเหตุที่จะสิ้นอายุภายในอันเร็ว ๆ นี้ ตลอดทั้งที่จะไปเกิดในนรก ครั้งพ้นจากนรกแล้ว จะต้องไปกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานให้ทราบสิ้นทุกประการ

    ฝ่ายสุปติฏฐิตาเทพบุตร ได้ทราบเหตุดังนั้นแล้ว ก็มีความสะดุ้งตกใจกลัว คิดปริวิตก บุพพนิมิต 4 ประการ คือ
    - ดอกไม้ทิพย์ร่วงโรย ประการหนึ่ง
    - สรีระ ร่างกายมัวหมองไม่ผ่องใส ประการหนึ่ง
    - ผ้าทิพย์ภูษา เครื่องทรงเศร้าหมองไม่ผ่องใส ประการหนึ่ง
    - ครั้งทรงผ้าสไบเข้าก็ร้อนกระวนกระวายไปประการหนึ่ง

    บุพพนิมิตเหล่านี้ก็ปรากฏแก่สุปติฏฐิตาเทพบุตร บุพพนิมิต  4 ประการนี้ ปรากฏแก่เทพบุตรหรือเทพธิดาองค์ใดแล้ว เทพบุตรธิดาองค์นั้น จะต้องจุติจากเทวโลกอย่างแน่นอน

    เมื่อ สุปติฏฐิตาเทพบุตร ทราบชัดเจนเช่นนั้นแล้ว ก็ไม่นิ่งนอนใจใคร่จะหาเครื่องป้องกัน จึงเข้าไปสู่สำนักท้าวอเมรินทราธิราชเจ้า ถวายอภิวาทแล้วกราบทูลเหตุการณ์ให้ทรงทราบ แล้วทูลอ้อนวอนขอชีวิตในสำนักอมรินทร์โดยอเนกปริยาย

        ท้าวเธอตรัสตอบว่า ชื่อว่าความตายนี้เราเห็นผู้ใหญ่ในสรวงสวรรค์ ก็ไม่อาจห้ามบุพพกรรมอันมีกรรมแรงนี้ได้ เราเห็นอยู่แต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์โลกทั่ว 3 ภพ พระองค์เสด็จประทับอยู่ใต้ต้นปาริกชาติ มาเราจะพาเข้าเฝ้ากราบทูลอาราธนา ให้พระองค์ทรงช่วยเหลือ

    สุปติฏฐิตาเทพบุตร ถือเครื่องสักการบูชาตามเสด็จท้าวอมรินทราธิราช เข้าสำนักพระมหามุนีนาถพระศาสดาจารย์แล้ว กราบทูลเหตุการณ์เหล่านั้น ให้พระองค์ทรงทราบโดยสิ้นเชิง แล้วพระองค์ทรงแสดงบุพพกรรมของ สุปติฏฐิตาเทพบุตร องค์นี้เกิดเป็นมนุษย์มีความเห็นผิด เป็นผู้ประมาทตั้งอยู่ในมิจฉาทิฏฐิเป็นพรานฆ่าเนื้อเบื่อปลาเป็นผู้มีใจแข็งกระด้าง ตบตีบิดามารดาต่อสมณชีพราหมณ์ ไม่ลุกรับนิมนต์ให้อาสนะที่นั่งภิกษุสงฆ์ผู้เข้าไปสู่สำนัก แม้เห็นแล้วก็ทำเป็นไม่เห็นเสีย

        ด้วยวิบากผลอกุศลกรรมอันนี้ตามทันเข้า สุปติฏฐิตาเทพบุตรจึงได้ไปเกิดในนรกตลอดแสนปี ครั้นพ้นจากนรกขึ้นมาก็จะไปกำเนิดแห่งสัตว์ 7 จำพวก คือเป็นแร้ง เป็นรุ้ง เป็นกา เป็นเต่า เป็นหนู เป็นสุนัข และเป็นคนหูหนวกตาบอดอย่างละ 500 ชาติ ด้วยอำนาจอกุศลกรรมนั้นแหละ
ขอมหาบพิตรจงทราบด้วยประการฉะนี้

    เมื่อท้าวอมรินทร์ทรงทราบแล้ว ก็มีความเมตตาสงสารแก่สุปติฏฐิตาเทพบุตร ยิ่งนัก จึงกราบทูลให้พระองค์ทรงแสดงพระสัจธรรมเทศนาอันจะเป็นที่พึ่งแก่สัตว์โลก ช่วยชีวิตเทพบุตรองค์นี้ไว้ไม่ให้ตายลงภายใน 7 วันนี้ สมเด็จพระบรมศาสดาจึงตรัสเทศนาคาถาอุณหิสสวิชัย มีใจความดังต่อไปนี้

                          อุณหิสสะวิชะยะคาถา
        
        อัตถิ  อุณหิสสะ  วิชะโย           ธัมโม  โลเก  อะนุตตะโร
        สัพพะสัตตะหิตัตถายะ            ตัง  ตวัง  คัณหาหิ  เทวะเต
        ปะริวัชเช  ราชะทัณเฑ              อะมะนุสเสหิ  ปาวะเก
        พะยัคเฆ   นาเค  วิเส   ภูเต       อะกาละมะระเณนะ  วา
        สัพพัสมา  มะระณา  มุตโต       ฐะเปตวา  กาละมาริตัง
        ตัสเสวะ  อานุภาเวนะ                โหตุ  เทโว  สุขี   สะทา
        สุทธะสีลัง  สะมาทายะ               ธัมมัง สุจะริตัง  จะเร
        ตัสเสวะ  อานุภาเวนะ                 โหตุ  เทโว สุขี  สะทา
        ลิกขิตัง  จินติตัง ปูชัง                 ธาระณัง  วาจะนัง คะรุง
        ปะเรสัง  เทสะนัง  สุตวา             ตัสสะ  อายุ  ปะวัฑฒะตีติ

    เทวเต ดูกรเทวดาทั้งหลาย พระธรรมนี้ชื่อว่าอุณหิสสวิชัย เป็นยอดแห่งพระธรรมทั้งหลายเป็นประโยชน์แก่สัตว์ทั้งมวล ท่านจงเอาพระธรรมนี้เป็นที่พึ่ง อุตสาห์สวดบ่นสาธยายทุกเช้าค่ำ ย่อมห้ามเสียซึ่งภัยทั้งปวง อันจะเกิดขึ้นจากผีปิศาจหมู่พยัคฆะงูใหญ่น้อย และพญาเสนาอำมาตย์ทั้งหลายจะไม่ตาย ผู้ใดได้เขียนไว้ก็ดี ได้ฟังก็ดี ได้สวดมนต์ภาวนาอยู่ทุกวันก็ดี จะมีอายุยืน เทวเต ดูกรเทวดา ทั้งหลายท่านจงมีความสุขเถิด

      อนึ่งบุคคลผู้ใดบูชาแก้วทั้ง 3 คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี้เป็นยาอันอุดม ย่อมคุ้มครองผู้นั้นให้พ้นจากทุกข์ภัยพยาธิทั้งปวง ด้วยอำนาจพระอุณหิสสวิชัยนี้ จะรักษาคุ้มครองให้ชีวิตของท่านเจริญสืบต่อไป ท่านจงรักษาไว้ให้มั่นอย่าให้ขาดเถิด เมื่อจบพระสัทธรรมเทศนาลง เทวดาทั้งหลายมีท้าวอมรินทร์เป็นประธานได้ดื่มรสแห่งพระสัทธรรมเป็นอันมาก

     ฝ่ายสุปติฏฐิตาเทพบุตร มีจิตน้อมไปตามกระแสแห่งพระธรรมเทศนานั้น ได้กลับอัตตภาพใหม่ คือ มีกายอันผ่องใส เป็นเทวบุตรหนุ่มคืนมาแล้วจะมีอายุยืนตลอดไปถึงพระพุทธพระนามว่า ศรีอริยเมตไตรยลงมาตรัสจึงจะจุติจากเทวโลกลงมาสู่มนุษย์โลก เป็นพระอรหันตขีณาสวะองค์หนึ่ง ดังนั้นขอพุทธบริษัททั้งหลาย จงสำเนียกไว้ในใจแล้วประพฤติปฏิบัติในพระคาถา อุณหิสสวิชัย ก็จะสมมโนมัยตามความปรารถนาทุกประการ

แนะนำ :-
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
จวมานสูตร

ที่มา  84000.org

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อธิษฐานบารมีเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง




อธิษฐานบารมีเป็นเรื่องที่สำคัญ
ถาม : เขาบอกว่าไม่ทำหวังผล

ตอบ: ในลักษณะนั้นก็ดีจ้ะ คือว่าปล่อยวางได้ แต่ว่าลักษณะเหมือนกับการทำงาน ถึงเราต้องการหรือไม่ต้องการ ปลูกต้นไม้ลงไป ถึงเวลาดอกผลมันต้องออก พอถึงเวลาดอกผลมันออกมาไม่ดี คนปลูกบอกว่าไม่หวังผล แต่เห็นแล้วอาจจะไม่สบายใจไปเลยก็มี

เพราะฉะนั้นถ้าหากว่าเราไว้ว่าทำอะไร วัตถุที่เราตั้งใจจะทำ ได้มาโดยถูกต้อง ตัวเรามีศีลบริสุทธิ์ ผู้รับมีศีลบริสุทธิ์ ผลมันเต็ม ๑๐๐ ส่วนอย่างนี้ ก็เลือกทำในสิ่งที่ดีๆ ดีกว่า พอถึงวาระถึงเวลา ผลที่ได้มามันก็ชื่นใจสมกับที่เรารอคอย

มีหลายคนที่คิดแบบนี้ อย่างเช่นว่าทำบุญแล้วอธิษฐานขอโน่นขอนี่เป็นการโลภ แบบนี้มันต้องไปเกิดเป็นอานันทะเศรษฐี มันถึงจะเข็ด เขาจะไม่เข้าใจตรงจุดนี้เลย เพราะว่าอธิษฐานบารมีนี่เป็นบารมีที่สำคัญมาก ถ้าบุคคลที่สร้างบารมีมายังไม่ถึงตอนปลาย จะใช้อธิษฐานบารมี ไม่เป็นเลย ผลทุกอย่างไม่ว่าดีหรือชั่วที่เราทำไป ต้องการหรือไม่ต้องการ มันก็เกิดผลแน่นอน ทางวิทยาศาสตร์ยังยืนยันเลยใช่ไหม ว่าทุกอย่างที่ทำไปมันมีผล คราวนี้ถ้าหากว่าผลนั้นมันมาในจังหวะที่เราต้องการมันก็ดี ถ้ามันมาในจังหวะที่เราไม่ต้องการ เราก็จะแย่ไปเลย

อย่างเช่นว่า อานันทะเศรษฐี เคยเป็นมหาเศรษฐี แล้วก็รักษาทรัพย์สมบัติเอาไว้ไม่ได้ กลายเป็นคหบดี คือทรัพย์ลดน้อยลงมา จนในที่สุดกลายเป็นขอทาน พระพุทธเจ้าไปเจอขอทานอยู่หน้าประตูเมืองอาฬวี ท่านก็ยิ้ม พระอานนท์ถามว่าทรงแย้มพระโอษฐ์ด้วยเหตุใด ? พระพุทธเจ้าบอกอานันทะ ดูก่อนอานนท์ เธอเห็นอาฬวีเศรษฐีมั้ย ? พระอานนท์บอกไม่เห็นเจ้าข้า เห็นมีแต่ขอทาน ท่านบอกขอทานนั่นแหละ คืออาฬวีเศรษฐี สมัยที่ท่านเป็นเศรษฐี ถ้าฟังธรรมจากตถาคตจะได้เป็นพระอนาคามี ตอนที่ทรัพย์ลดลงมาเป็นคหบดี ถ้าฟังธรรมจะได้เป็นพระโสดาบัน แต่ตอนนี้เธอกลายเป็นขอทาน จิตมัวแต่หมกมุ่นกังวลอยู่กับการทำมาหากิน ถึงฟังธรรมไปก็ไม่มีโอกาสบรรลุมรรคผล คราวนี้พระอานนท์ท่านจำแม่น ท่านบอกว่าพระพุทธเจ้าตรัสอะไรไม่เป็นสอง พระพุทธเจ้าเคยตรัสเอาไว้ว่าบุคคลถ้ามีวิสัยจะได้มรรคผล อย่างไรก็ไม่เสื่อมจากวิสัยอันนั้น ทำไมอาฬวีเศรษฐี หรืออานันทะเศรษฐีคนนี้ถึงได้เสื่อม ? พระพุทธเจ้าตรัสว่าอานันทะเศรษฐีขาดอธิษฐานบารมี

อธิษฐานบารมีเหมือนกับยิงปืนแล้วเราเล็งเป้า อย่างไรๆ ให้มันถูกเป้าแน่อนดีกว่า ไม่ใช่ยิงส่งเดช โอกาสมันจะถูกมันก็น้อย เพราะฉะนั้น คนที่จะใช้อธิษฐานบารมีก็คือ เราทำอะไรต้องการหรือไม่ต้องการก็ตาม ถึงวาระผลนั้นจะเกิด การอธิษฐานเป็นการเจาะจงว่าให้ผลนั้นเกิดอย่างไร เกิดเมื่อไหร่ เพื่อที่มันจะได้พอเหมาะพอดี พอควรกับความต้องการของเรา ไม่ใช่หิวข้าวตอนนี้ อีก ๓ วัน ข้าวค่อยมาก็อดแย่เลย เพราะฉะนั้นอธิษฐานบารมีเป็นเรื่องสำคัญมาก คนที่ไม่เข้าใจมักจะคิดว่าทำบุญแล้วยังขอโน่นขอนี่เป็นการโลภ เข้าใจผิดมากเลย

สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เดือนธันวาคม ๒๕๔๕(ต่อ)
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ

ที่มา board.palungjit.com

วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ฝรั่งที่ได้อภิญญาชัดที่สุดในยุคปัจจุบัน



ถาม : แล้วอย่างเดวิด คอปเปอร์ฟิลล์ ที่ตัดตัวเองขาเดินไปก่อนแล้วตัวตาม...สุดยอด !

ตอบ : จะตัดอีกกี่ท่อนเขาก็เดินได้ ของเขานั้นไม่ใช่เล่นกลนะ นั่นของจริงเลย แต่ว่าคนทั่วๆ ไปคิดว่าเป็นการเล่นกล การเล่นกลต้องอาศัยแสง สี เหลี่ยม มุม อะไรต่างๆ แล้วก็ระยะเวลา เพื่อที่จะบังตาให้คนเห็นตามที่เขาต้องการ แต่ของเขาจะให้เห็นอย่างไรเมื่อไรก็ได้

ถาม : เขาทำได้อย่างไรคะ ?

ตอบ : ก็ใช้อภิญญา เขาบอกว่าเขาฝึกกับพระมา เพราะฉะนั้นฝรั่งที่ได้อภิญญาชัดที่สุดก็ต้องคอปเปอร์ฟิลล์นั่นแหละ

ถาม : เราจะทำได้อย่างนั้นไหมคะ ?

ตอบ : ได้จ้ะ ถ้าทำกสิณ ๑๐ ทำได้เก่งกว่าเขาอีก

ถาม : เขาได้กองไหนครับถึงได้เก่งขนาดนี้ ?

ตอบ : ต้องถามเขาเองจ้ะ

ถาม : ความจริงถ้าได้ก็เปิดแสดง ...(หัวเราะ)...

ตอบ : เล่นได้เลย คนเขาก็จะคิดว่าเป็นเล่นกลเหมือนกัน..ใช่ไหม ? อย่างเช่นว่าใช้นีลกสิณอย่างนี้ พอถึงเวลาก็เอาผ้าคลุมเครื่องบินจัมโบ้เจ็ตเอาไว้สักลำหนึ่ง อธิษฐานนีลกสิณว่าให้มืดมองไม่เห็นแล้วก็ดึงผ้าออก เท่านี้ก็หายไปแล้ว

สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนมิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๔
ที่มา board.palungjit.com

วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ลักษณะอาการของการมองเห็นเมื่อฝึกมโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ)




ลักษณะของการมองเห็นเมื่อฝึกมโนมยิทธิ
 
ถาม : ตอนเที่ยงผมไปฝึกมโนมยิทธิ ปรากฏว่าผมไม่เห็นอะไร เลยไม่แน่ใจว่าผมทำอารมณ์ไม่ถูกอย่างไร ?

ตอบ : ถ้าเห็นก็ประหลาด ต้องไม่เห็น ถ้าคุณคิดว่าเห็นก็บ้า...!

ถาม : แล้วต้องทำอย่างไร ?

ตอบ : การฝึกมโนมยิทธิ อย่าลืมคำว่า “มโน” คือห้วงนึกคือความคิดของเรา ไม่ใช่ตาเห็น ถ้าเราคิดว่าเป็นตาเห็นก็ผิดตั้งแต่ยกแรกแล้ว หลับตาอยู่จะไปเห็นอะไร

คราว นี้ถามว่าแล้วเราเห็นลักษณะไหน ? เราเห็นลักษณะนึกถึงคน นึกถึงของ นึกถึงบ้าน ชัดไหมล่ะ ? แล้วใช่ลูกตาเห็นไหมล่ะ ? ไม่ใช่หรอก นั่นแหละมโน เขาเห็นกันอย่างนั้น คราวนี้แรกๆ หากว่าสภาพจิตยังไม่สงบ ภาพจะไม่ปรากฎ ภาพไม่ปรากฎจะเป็นแค่ความรู้สึกในใจเท่านั้น รู้สึกว่าเป็นอย่างนั้น รู้สึกว่าเป็นอย่างนี้ รู้สึกว่าต้องอย่างนั้น รู้สึกว่าต้องอย่างนี้ ความรู้สึกอันแรกที่เกิดมามันใช่ จะถูกต้อง ขอให้น้อมใจเชื่อตามนั้น ถ้าเปรียบไปแล้วจะเหมือนคนๆ หนึ่งอยู่ในห้องมืดๆ แล้วเขาส่งของมาให้ชิ้นหนึ่ง เช่น เครื่องคิดเลข เราจับๆ คลำๆ ลูบๆ พักหนึ่ง เราก็ตอบได้ว่าเป็นเครื่องคิดเลข แต่ถ้าเราซ้อมบ่อยๆ จนกระทั่งเคยชิน พอแตะปุ๊บ ก็บอกได้เลยว่าเป็นเครื่องคิดเลข อย่างนี้เป็นต้น

คราวนี้พอเราซ้อมอยู่บ่อยๆ โดยยอมเชื่อความรู้สึกแรก จนกระทั่งจับจุดได้ว่าความรู้สึกอย่างไรถึงจะถูกต้อง พอเกิดความมั่นใจแล้วสภาพจิตจะนิ่ง คราวนี้ภาพจะเกิด พอภาพเกิดปุ๊บ โดยสัญชาตญาณเราก็ไปเพ่งมัน อยากจะเห็นให้ชัด บอกแล้วว่าไม่ใช่ตาเห็น จิตเราต้องไปถึงสถานที่นั้น เราถึงจะเห็นภาพได้ การที่เรานึกถึงตา คือนึกถึงตัว คือการดึงจิตกลับมา ภาพจะหายไป เพราะเราไม่ได้อยู่ตรงนั้นแล้ว จะไปเห็นอะไรอีก พอถึงเวลาภาพหายไป ตั้งใจภาวนา พอกำลังใจไปถึงจุดนั้นก็เห็นอีก จะเป็นๆ หายๆ อย่างนี้ บางคนเป็นอยู่ ๑๐ ปี ก็มี ประสาทจะกลับก็มี แค่เราทำใจว่า

ก่อนหน้านี้แค่ความรู้สึกก็ถูกต้องอยู่แล้ว การเห็นภาพไม่จำเป็นต้องมีสำหรับเราก็ได้ จะเห็นหรือไม่เห็นก็ช่าง เราจะไม่ใส่ใจอีก ถ้าทำกำลังใจอย่างนี้ได้ ภาพจะเกิดขึ้นและปรากฏอยู่นาน

หลักการที่สอง ทำให้ได้อย่างที่ครูฝึกเขาบอก จะต้องมีการพิจารณาตัดร่างกาย อย่าให้จิตเกาะร่างกายนี้ อย่าให้จิตเกาะโลกนี้ เพราะถ้าจิตเกาะยึดเกาะร่างกายนี้หรือโลกนี้ มันจะไม่ไปไหน มันห่วงร่างกาย มันห่วงโลก แต่ถ้าเห็นว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา โลกนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ เราไม่อยากได้จริงๆ จิตจะไม่ห่วง จะไปได้ง่าย แล้วจะเห็นภาพได้ชัดเจนแจ่มใสด้วย

ถาม : แล้วต้องนึกถึงพระ (ไม่ชัด)

ตอบ : สมควรที่สุดที่จะทำอย่างนั้น กำลังใจของเราไม่มีอะไรกั้นได้ นึกถึงบ้านตอนนี้ ถ้าคนได้อภิญญา เขาเห็นเราอยู่ที่บ้านแล้ว ไม่ต้องเปิดประตู ไม่ต้องลงบันได ไม่ต้องเรียกแท็กซี่ ไม่ต้องขับรถเอง แค่นึกก็ถึงแล้ว ระยะทางของโลกถึงดวงอาทิตย์ ๙๓ ล้านไมล์ แสงเดินทางด้วยความเร็ว ๑๘๖,๐๐๐ ไมล์/วินาที ใช้เวลาประมาณ ๘ นาทีมาถึงโลกเรา แต่ถ้าเรานึกถึงดวงอาทิตย์แค่ไม่ถึง ๑/๑๐ ของวินาที จิตเราอยู่ที่นั่นแล้ว

เพราะฉะนั้น ไม่ว่าเรานึกถึงจุดไหนก็ตาม จิตจะไปปรากฏอยู่ตรงจุดนั้น คราวนี้เรานึกถึงบ้าน จิตจะไปปรากฏอยู่ที่บ้าน เห็นบ้านสภาพบ้านชัดเจน ลักษณะบ้านเป็นอย่างไร ประตูอยู่ตรงไหน ห้องน้ำอยู่ตรงไหน ห้องนอนอยู่ตรงไหน รู้หมด อันนั้นเกิดจากเราเคยชินกับมัน คราวนี้ไปเทวดา ไปพรหม ไปนิพพาน เราจะไม่เคยชินกับสถานที่ละเอียดอย่างนั้น เพราะฉะนั้นขอให้เชื่อความรู้สึกแรก รู้สึกว่าอย่างไร ถ้าครูฝึกถามให้ตอบไปตามนั้น ไม่จำเป็นต้องเห็น ทำตามขั้นนี้ไปก่อน

ถาม : ถ้าทำเองที่บ้าน ?

ตอบ : ซ้อมบ่อยๆ คุณใช้วิธีอย่างนี้ พอถึงเวลาคุณกราบพระเสร็จ ก็ตั้งใจขอบารมีท่านว่าเราจะฝึกมโนมยิทธิ ขอให้ทำได้ชัดเจนแจ่มใส และคล่องตัวด้วย แล้วกำหนดความรู้สึกทั้งหมดของคุณให้อยู่ตรงหน้าคุณ เหมือนกับว่าเป็นคนๆ หนึ่งอยู่ตรงหน้า จะเล็กจะใหญ่อยู่ที่เราถนัด เอาตัวเล็กตัวใหญ่แค่ไหนก็ได้ แล้วก็บอกให้เดินหน้า บอกให้ถอยหลัง บอกให้หันซ้าย บอกให้หันขวา ทำอย่างกับหัดแถวทหารอย่างนั้นแหละ บังคับให้ชิน

พอหันขวาเราก็รู้สึกว่าหันตาม หันซ้ายเราก็หันตาม เดินหน้าเราก็เดินตาม ถอยหลังเราก็ถอยตาม ความรู้สึกของเราทั้งหมดให้อยู่กับตัวนี้ พอชินแล้ว ค่อยๆ ทำนะ เดินวนรอบตัวก็ได้ วนช้าๆ เพราะว่าถ้าความรู้สึกคล่อง แป๊บเดียวจะครบรอบเลย บอกให้เปิดประตู บอกให้ออกนอกบ้าน บอกให้ ค่อยๆ เดินวนรอบบ้าน ทำตัวเป็นยามไปเลย ค่อยๆ ดูไปทีละจุด เปิด ประตูใหญ่ เดินออกไปในซอย ค่อยๆ ไปปากซอย คราวนี้ความรู้สึกของ เราที่ค่อยๆ ไป แรกๆ จะชัดเจน เพราะว่าสถานที่ต่างๆ เราคุ้นเคยดี

แต่คราวนี้พอไกลออกไปๆ เป็นปากซอย ความคุ้นเคยน้อยแล้ว พอไปถึง จุดที่เราไม่คุ้นเคย แต่ความรู้สึกยังปรากฏชัดอยู่ อาจจะตรงนี้ร้านขายยา ตรงนี้วินมอเตอร์ไซค์ตรงนี้เป็นเซเว่น อีเลฟเว่น จดเอาไว้ แล้วถึงเวลา รุ่งเช้าเดินไปดูว่าตรงไหม? ซ้อมอย่างนี้ทุกวันๆ แล้วจะคล่องตัวมาก ต่อไปถ้าจะไปสวรรค์ ไปพรหม ไปนิพพานอย่างไร? ก็แค่นึกถึงสวรรค์ นึกถึง พรหม นึกถึงนิพพาน จะไปถึงเลย ทำอย่างนี้ทุกวัน ซ้อมบ่อยๆ ถ้าไม่ ซ้อมสนิมขึ้น

ถาม : เวลาซ้อมนั่งหลับตา นึกว่ามีตัวเรา?

ตอบ : ใช่ นั่นแหละ แล้วก็บังคับตัวนั่นแหละ ให้ค่อยๆ ไปเปิดประตู เปิดหน้าต่างทีละบาน เดินวนรอบบ้าน อะไรก็ได้ กวาดขยะ อะไรก็ได้ทำ ไปเลย ไม่มีใครว่า ทำอย่างนี้บ่อยๆ แล้วจะคล่องตัว พอคล่องตัวจากสิ่งที่เราเคยชิน ค่อยๆ ไปสู่สิ่งที่เราไม่เคยชิน แล้วก็พยายามจดจำ ไว้ว่าเป็นอย่างไร? ถึงเวลาเราก็ไปดูเพื่อเป็นการพิสูจน์ จะได้รู้ว่าเรารู้จริง ไหม? เห็นจริงไหม? อย่าลืมนะไม่ได้เห็นด้วยตา ใช้ตาเมื่อไหร่เจ๊งเมื่อนั้นเลย

ถาม : อย่างวันนี้ที่ผมฝึกนี่ ครูฝึกเขาบอกว่าทั้งหมดตอนนี้ไปอยู่ข้างบนแล้ว อยู่ในแดนพระนิพพาน แสดงว่าจริงๆ นี่ไปได้จริงๆ

ตอบ : ถ้าเราคิดถึงตรงไหน จะไปถึงตรงนั้นเลย เพียงแต่ว่าเราเองจะรับรู้ได้หรือเปล่าเท่านั้นเอง บอกแล้วว่าไม่มีอะไรกั้นจิตได้ จิตคิดถึงตรงไหน จะไปถึงตรงนั้นเดี๋ยวนั้นเลย ขั้นตอนการใช้ร่างกายทำไม่เกี่ยวกับจิตเลย บอกแล้วไม่ต้องเปิดประตู ไม่ต้องลงบันได ไม่ต้องขับรถ ไม่ต้องขึ้นรถอะไร ทั้งนั้น แค่นึกก็ถึงแล้ว

ถาม : แต่ในความรู้สึกสัมผัสของเรา มันไม่ถึง

ตอบ : คราวนี้สำคัญตรงขยันซ้อม ต้องขยันซ้อม ทำบ่อยๆ ทำทุกวัน ซ้อมทุกวัน เพื่อให้เกิดความคล่องตัว ก่อน จะไปทำงานกำหนดใจสบายๆ นึกเลย วันนี้เราไปถึงที่ทำงานจะเจอใครก่อน คนๆ นั้นผู้หญิงหรือผู้ชาย ใส่เสื้อผ้าสีอะไร แล้วก็จดไว้ พอถึงเวลาก็ไปดู ถ้า หากผิดก็ไม่ต้องสนใจ แต่ถ้าถูกพยายามนึกให้ได้ว่าเราทำกำลังใจอย่างไร? แล้วก็จำกำลังใจช่วงนั้น แล้วใช้ช่วงนั้นบ่อยๆ จะคล่องตัวมาก อาตมาเองซ้อมบ่อย จะออกบิณฑบาตนึกก่อนเลย วันนี้ใครจะใส่บาตรก่อน ผู้หญิงหรือผู้ชาย ใส่เสื้อผ้าสีอะไร มากลุ่มนี้กี่คนอย่างนี้ นี่ขนาดนี้แล้วยังต้องซ้อมอยู่นะ ไม่อย่างนั้นสนิมกิน


สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๖(ต่อ)
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ

ที่มา board.palungjit.com

วิธีการน้อมนึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ให้ได้


วิธีนึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์



ถาม : การที่นึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ หนูคิดเอาเองว่าต้องรบกวนคนที่ได้มโนมยิทธิ พาไปนิพพานเมืองแก้วหรือเปล่าเจ้าคะ ?

ตอบ : ไม่ต้องจ้ะ

ถาม : เพราะปุถุชนอย่างหนู ถ้าพูดถึงนิพพาน หนูก็นึกไม่ออกว่าเป็นอย่างไร ?

ตอบ : ไม่จำเป็น นึกถึงพระพุทธรูปไว้ว่า คือองค์แทนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านไม่อยู่ที่ไหนหรอก นอกจากพระ

นิพพาน เราเห็นท่านคืออยู่กับท่าน เราอยู่กับท่านคือเราอยู่บนพระนิพพาน คิดแค่นี้พอ

ถาม : แล้วมโนมยิทธินี่ช่วยเหลือคนให้เห็น จะได้หายสงสัย ใช่ไหมคะ ?

ตอบ : ไม่ใช่ช่วยจ้ะ ทำให้ได้ แล้วก็รู้เห็นเอง คนอื่นทำได้เขารู้เห็น เขาหายสงสัยคนเดียว ถ้าเราทำไม่ได้ เราถามไปเรื่อย ไม่หมดความสงสัย

หรอก เพราฉะนั้นต้องทำให้ได้เอง เมื่อเรารู้เห็นจะได้หมดความสงสัย

ถาม : มโนมยิทธิเป็นการทำสมาธิอย่างหนึ่ง ?

ตอบ : จ้ะ

ถาม : ภาวนา นะ มะ พะ ทะ

ตอบ : จ้ะ

ถาม : ปกติทุกวันนี้ที่หนูทำเอง ก็ดูลมหายใจเข้าออก ก็บริกรรมบ้าง ไม่บริกรรมบ้าง แต่พยายามให้รู้ลมหายใจเข้าออก ถ้าหากจะเจริญมโน

มยิทธิก็ภาวนาระหว่างที่ดูลมหายใจ ?

ตอบ : จ้ะ ก็แค่เพิ่มคำภาวนาเข้าไป ลมหายใจเข้าออกทิ้งไม่ได้อยู่แล้วจ้ะ ยกเว้นมีครูฝึกมาอยู่ตรงหน้า เขาบอกให้หยุดภาวนา เราก็เลิกคิดถึง

ตรงนั้น หันมาสนใจกับครูฝึกแทน

ถาม : หนูยังไม่ค่อยกล้า หนูกลัวเห็นอะไรที่ตัวเองตั้งสติไม่ทัน ภาวนาเพื่อจะฝึกมโนมยิทธิ ทางที่ดีควรจะมีครูบาอาจารย์ใช่ไหมคะ

ตอบ : ? จ้ะ คือน้อยคนที่ทำได้เอง

ถาม : ระหว่างที่ทำ เราอาจจะเห็นนิมิตหลอกเรา จิตที่เราปรุงแต่งหลอกเราให้เห็นด้วย

ตอบ : อันนั้นก็มีอยู่ ขณะเดียวกันถ้าเราใช้มโนมยิทธิที่มีครูฝึกควบคุมอยู่ ท่านจะคอยบอกเราว่าควรจะทำอย่างไร ควรจะไปที่ไหน ถ้าอย่างนั้น

ไม่ต้องไปกลัวว่าจะเจอสิ่งที่มาหลอก แต่ถ้าหากถึงเวลาไปทำคนเดียวนั้น โอกาสนั้นจะมี จะมีโอกาสโดนเขาหลอก เขาแกล้งได้ แต่ท่านจะมี

หลักการอยู่แล้วว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราเห็นนั้น อย่าเพิ่งเชื่อ ให้ตั้งใจอธิษฐานว่า ขอรู้เห็นตามสภาพความเป็นจริง ถ้าหากเราอธิษฐานขอรู้

เห็นตามความเป็นจริง ถึงเวลาจะรู้เห็นตามความเป็นจริงนั้น

ถาม : ดูใจตัวเอง บางทีเหมือนกับมีภาพ มีเสียงมา บางทีก็จริงบ้าง ไม่จริงบ้าง (ไม่ชัด) ต้องมีสติเจ๋งๆ เข้มๆ ถึงจะหาย

ตอบ : ไม่ใช่จ้ะ สติเข้มหรือไม่เข้ม ถ้าทำถึงตรงนั้น ก็เป็น แต่ให้เข้าใจเลยว่าเรารู้เห็น เรารู้เห็นจริงๆ แต่เรื่องที่เรารู้เห็นไม่แน่ว่าจะจริงสมมติว่า

เราเห็นคนไล่ยิงไล่ฟันกันมา เราเองอาจจะโทรแจ้งตำรวจหรือเข้าไปขัดขวาง ปรากฎว่าโดนเขาไล่เตะเอา เพราะเขากำลังถ่ายหนังอยู่ เราเห็น

เขาฆ่ากันจริงๆ ไหมล่ะ ? แล้วเรื่องที่เราเห็นนั้นเป็นเรื่องจริงไหม ?

ถาม : บางครั้งหนูรู้สึกรำคาญตัวเองเหมือนกันค่ะ บางทีก็เหมือนมาพูดกับเรา บางทีก็เหมือนกับเราเห็น

ตอบ : จ้ะ รับรู้ไว้เฉยๆ ถ้าเป็นไปตามนั้น แล้วค่อยน้อมใจเชื่อ แต่การน้อมใจเชื่อคือเชื่อเรื่องนั้น เรื่องที่เป็นไปแล้ว เรื่องที่ยังไม่เป็นต่อให้รู้มา

พร้อมกัน ก็อย่าเพิ่งเชื่อ ถ้าทำใจอย่างนี้ได้ เขาหลอกเราไม่ได้ ส่วนใหญ่เราจะไปเชื่อเลย

ถาม : แล้วเมื่อไหร่จะหายคะ ?

ตอบ : ไม่หายจ้ะ ยกเว้นว่าเรามั่นคงถึงขนาดที่ทำให้อย่างไรเขาก็หลอกเราไม่ได้ ต่อไปเขาก็เลิก แต่จะไปรู้เห็นเรื่องอื่นแทน

ถาม : เหมือนเงาที่มันอยู่ในน้ำ พอน้ำกระเพื่อมเงาก็หายไป ความรู้สึกก็เลยบอกว่า บางครั้งสิ่งที่มันเกิดเรารู้ไม่ทัน ถ้าเรารู้ทันว่ามันเกิดขึ้นได้

อย่างไร เราดับตรงนั้นได้มันก็ไม่มีปัญหา ?

ตอบ : ใช่ หมดเรื่องเลย จุดสำคัญที่สุดของอารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลง มันอยู่ตรงตัวจิตที่ปรุงแต่ง ถ้าเราหยุดคิดไม่ไปปรุงแต่งต่อไม่มีปัญหา

แต่ส่วนใหญ่มันหยุดไม่ทัน มันต้องเห็นตั้งแต่เหตุ กระทบตากระทบหูปุ๊บ ต้องรู้ทันแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น เสร็จแล้วก็หยุดมันเอาไว้แค่นั้น ถ้าเรา

เก็บมันมาไว้ในใจ เราคิดต่อเมื่อไหร่เป็นอันตรายกับเราทันที

ถาม : ไม่ให้คิด ยาก ?

ตอบ : คิดได้ แต่หยุดคิดให้เป็น ถ้าหยุดคิดไม่เป็นไปยาวเลย



สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๖(ต่อ)
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ

ที่มา http://board.palungjit.com

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

จะไปพระนิพพานได้หรือไม่ ถ้าไม่รู้จักพระนิพพาน



ไม่รู้จักพระนิพพาน จะไปพระนิพพานได้หรือไม่ ?

ถาม : ถ้าเราไม่รู้จักพระนิพพาน มโนมยิทธิก็ไม่ได้ ศีลสมาธิก็ไม่ค่อยดี เราจะไปนิพพานอย่างไร ?

ตอบ : อีกหลายชาติ ถ้าหากทำในศีล สมาธิ ปัญญาไปจนถึงระดับหนึ่งแล้ว ถ้าหากสิ่งที่เราทำนั้นดี ทำถูกจริง จะสามารถสัมผัสนิพพานได้เลยอัตโนมัติ ไม่จำเป็นต้องรู้ชัดเจน เพราะอารมณ์พระนิพพานจะมาสัมผัสกับใจของเราเอง เพราะฉะนั้น..บรรดาท่านทั้งหลายที่เป็น สุกขวิปัสสโก ไม่ได้รู้เห็นอะไรเลย แต่ทำไมมั่นใจนักหนาว่านี่คือพระนิพพาน เราสามารถไปนิพพานได้ เพราะว่าพอทำถึงระดับหนึ่ง ก็จะสามารถสัมผัสได้ด้วยตนเอง จะเรียกว่าอุปกิเลสเกิดขึ้นก็ได้ ญาณเครื่องรู้บังเกิดขึ้น อุปกิเลสแต่ว่าใกล้กิเลส ยังไม่ใช่กิเลส จะใช่กิเลสก็ต่อเมื่อเราไปยึด

ถาม : ถ้าเราไหว้พระตอนเช้า ไหว้หลวงพ่อฤๅษี ขอหลวงพ่อว่าเวลาเราตายไป ขอหลวงพ่อเมตตามารับเรา

ตอบ : ขอได้ แต่เหมือนกับว่าคุณขออยู่ฝ่ายเดียว แต่คุณไม่เปิดประตูรับ ท่านจะมารับเราได้อย่างไร ต้องอาศัยกำลังใจของเรามีจุดที่เกาะที่มั่นคง หรือไม่ก็อาศัยปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริงว่าโลกนี้สภาพนี้ไม่มีอะไรดี แล้วเราต้องการสลัดตัดทิ้งไปเลย เราจึงจะสามารถไปได้ แต่ถ้าเราเอาแต่ขออย่างเดียว ไม่มีการดำเนินวิธีการต่างๆ เพื่อที่จะไปได้ ก็รอไปอีกนาน

ถาม : บางทีเราฟังธรรมะเราก็พอเข้าใจ แต่พอเกิดขึ้น ก็ดับไป แต่ทำไมอารมณ์ตรงนี้จึง ไม่ติดอยู่ในใจ เรา ?

ตอบ : เพราะนั่น ยังเป็นแค่สัญญา คือ จำได้เท่านั้น ยังไม่เกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริง เข็ดกลัวและเบื่อหน่าย คลายกำหนัดแล้วปล่อยวาง ยังต้องทำอีกหลายขั้นตอน

สนทนากับพระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เก็บตกบ้านอนุสาวรีย์ ต้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๓

ที่มา board.palungjit.com

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

การวิเคราะห์วิจารณ์พระไตรปิฎกเป็นการปรามาสพระรัตนตรัย




ถาม : สมัยอดีตกาลตอนที่พระพุทธเจ้าออกบวช ในโลกนี้มีศาสนาเดียวหรือหลายศาสนาครับ ?

ตอบ : มีมากมายหลายศาสนา มีการเชื่อถือและปฏิบัติแตกต่างกันไป แต่ว่าท้ายที่สุด ศาสนาพุทธที่ประกาศ อริยสัจ คือความจริงอันเจริญ สามารถครองใจคนได้ จนกระทั่งเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา เพราะว่าเป็นของจริงของแท้พิสูจน์ได้ทุกเวลา จำไว้นะว่า ศาสนาพุทธเป็นอริยสัจ คือความจริงอันเจริญ ให้ทำตามอย่างเดียว ไม่ต้องไปเสียเวลาไปวิเคราะห์วิจัย

สมัยนี้พวกเรียนหนังสือเรียนมากไป พยายามจะเอาปรัชญามาจากพุทธศาสนา ปรัชญาเป็นเรื่องที่ยกขึ้นมาถกเถียงกันยังไม่รู้ที่จบ ถ้าจบแล้วจะแยกออกเป็นศาสตร์ต่างๆ กันไป เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เป็นต้น ไม่ใช่ความจริงอย่างของพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนานั้นเป็นอริยสัจ พระพุทธเจ้าทรงค้นคว้ามาจนจบแล้ว ไม่ต้องเสียเวลาไปค้นคว้าถกเถียงกัน เรามีหน้าที่อย่างเดียวคือทำตาม แล้วผลจะเกิดเอง

มีคำกล่าวถึงพระพุทธศาสนาเอาไว้ในพระบาลีว่า "เกวลปริปุณณัง ปริสุทธัง" บริสุทธิ์บริบูรณ์แล้ว ตัดออกก็ขาด เติมเข้าก็เกิน ไม่ต้องไปยุ่งหรอก ทำตามอย่างเดียวก็พอ

สมัยนี้คนเก่งเยอะเขา วิเคราะห์พระไตรปิฎก กัน ...(หัวเราะ)... แค่นี้เราสู้ก็เขาไม่ได้แล้ว ลักษณะแบบนี้นอกจากจะเป็น "วิจิกิจฉา" แล้ว ยังเป็น "การปรามาสพระรัตนตรัย" อีกด้วย ไปวิเคราะห์พระไตรปิฎกกันว่า

ตรงจุดนี้คนทุกคนทำได้....เชื่อ

ตรงจุดนี้มีคนทำได้บ้าง ทำไม่ได้บ้าง...ละไว้ก่อน

ตรงจุดนี้คนโดยทั่วไปไม่สามารถทำได้...ก็ไม่เชื่อไปเลย

หลายท่านวิเคราะห์ว่า พระไตรปิฎกมาเขียนขึ้นในสมัยหลัง เป็นวิสัยของศิษย์ย่อมต้องสรรเสริญครูบาอาจารย์จนเกินจริงเป็นธรรมดา น่าทุบไหม ? คนเก่งมีมากขึ้นทุกที แต่มักจะเก่งในการหาทางไปนรก..!


สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๕

ที่มา  board.palungjit.com

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

พระธาตุขององค์ หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน

พระธาตุหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน

พระธาตุของหลวงตาชุดนี้ ผู้เขียนได้ติดตามถ่ายภาพหลังจากหลวงตาละขันธ์(มรณภาพ)แล้ว โดยไม่คาดคิดว่าพระธาตุของท่านจะมีลักษณะหลากหลายโดยเกิดได้จากส่วนต่าง ๆ ของธาตุขันธ์(ร่างกาย)ได้หลายประเภท เห็นว่าน่าสนใจมาก จึงได้นำมาลงให้ชม

น้ำบ้วนปากของหลวงตามหาบัว

สังเกตด้วยสายตาไม่สามารถเห็นอะไรนอกจากเศษอาหารเล็ก ๆ ที่จมอยู่ในน้ำ แต่เมื่อใช้กล้องติดเลนส์ขยายพิเศษ พบว่ามีเศษอาหารและวัตถุทรงกลมเล็ก ๆ หลาย ๆ ชิ้นอยู่ในน้ำ และที่ผิวน้ำพบวัตถุสีใสลอยอยู่เป็นระยะ

คำหมากของหลวงตามหาบัว

บริเวณที่เป็นเนื้อหมากเกิดผลึกสีขาวใส ขาวขุ่น ส่วนใหญ่ มีสีเหลือง สีฟ้าใส สีเขียวใสประปราย ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า เจ้าของจึงไม่ทราบจนกระทั่งได้ใช้กล้องที่มีเลนส์แบบพิเศษถ่ายออกมา จึงได้เห็นพระธาตุขนาดเล็กเกิดบนชานหมากของท่าน ส่วนน้ำหมากได้เปลี่ยนสภาพไปเป็นพระธาตุทรงกลมสีแดงเข้มที่อยู่บนพื้นผะอบ

พระโลหิตธาตุของหลวงตามหาบัว ถ่ายภาพขยาย

พระธาตุข้าวก้นบาตรหลวงตามหาบัว

พระธาตุจากข้าวก้นบาตรหลวงตามหาบัว สังเกตุดูด้วยตาเห็นว่าไม่เน่าเปื่อย เมื่อถ่ายภาพโดยใช้เลนส์ขยายจะมีลักษณะเป็นประกายเล็ก ๆ ระยิบระยับดังภาพ

พระธาตุจากอัฐิธาตุ(กระดูก)ของหลวงตามหาบัว ถ้าดูด้วยตาจะไม่เห็นความเป็นประกายจนกระทั่งถ้าได้รับแสงจากแดดหรือไฟฉาย ก็จะเห็นความเป็นประกายระยิบระยับ  จากภาพได้ถ่ายโดยใช้กล้องกับเลนส์มาโคร(เลนส์ขยาย) เพื่อให้ได้เห็นประกายแสงชัดเจนขึ้น ซึ่งจากที่พบเห็น อัฐิทุกชิ้นจะมีประกายแต่บางชิ้นมีมากน้อยแตกต่างกันไป

พระธาตุจากอัฐิเถ้าอังคารหลวงตามหาบัว พระธาตุชุดนี้ผู้เขียนดูด้วยตาเปล่าจะไม่เห็นความสวยงามชัดเจนนักเช่นกัน เนื่องจากพระธาตุมีขนาดเล็ก เห็นความเป็นมันเงากับแสงประกายสีทอง แต่เมื่อถ่ายโดยใช้กล้องกับเลนส์ขยายจะพบว่ามีหลายรูปพรรณสันฐานที่สวยงามชัดเจนขึ้น โดยด้านล่างมีพระธาตุที่มีรูปพรรณส้ณฐานที่แปลกคือมีสีคล้ายทองคำ

เมื่อผู้เขียนใช้เลนส์ขยายพระธาตุดังกล่าวก็พบว่ามีรูปร่างคล้ายพระธาตุทั่วไปแต่ผิวพรรณวรรณะมีลักษณะคล้ายทองคำ  ซึ่งเป็นที่น่าแปลกใจเพราะไม่เคยพบเห็นจากที่ใด จึงได้ไปค้นคว้าพระธาตุของครูบาอาจารย์ต่าง ๆ  แต่ก็ไม่พบภาพพระธาตุเป็นเหมือนทองคำลักษณะเช่นเดียวกับหลวงตานี้  ต่อมาผู้เขียนได้ร่วมจัดทำปฏิทินพระธาตุซึ่งต้องคัดกัณฑ์เทศน์ของหลวงตามาลง และได้พบในกัณฑ์เทศน์ที่กล่าวถึงพระธาตุสีทองจากเทศน์ของหลวงตา ท่านได้กล่าวไว้ในเทศน์เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๘ เรื่อง "เข้าสมาธิภาวนาระงับขันธ์"

"พระที่เพชรน้ำหนึ่งสำเร็จมาจากภาคเหนือน้อยเมื่อไร หลวงปู่แหวน หลวงปู่ขาว หลวงปู่มั่น ออกจากภาคเหนือทั้งนั้นนะ เพราะป่าเขาลำเนาไพรเป็นที่สะดวกสบายส่งเสริมได้เป็นอย่างดี นอกนั้นจะเป็นองค์ไหนบ้าง ที่ทราบชัด ๆ ก็คือหลวงปู่ตื้อ นี่เพชรน้ำหนึ่งทั้งนั้นที่ว่าเหล่านี้ หลวงปู่ตื้อนี้อัฐิของท่านกลายเป็นพระธาตุ โอ๋ย เหลืองอร่ามคล้ายกับทองคำนะ เราไปดูเอง

นั่นละพระท่านผู้หาอรรถหาธรรม ท่านจะไปหาที่เหมาะสม สถานที่เหมาะสมในการบำเพ็ญธรรมก็คือในป่าในเขาที่สงบงบเงียบ นั่นเป็นที่สะดวกสบายในการบำเพ็ญธรรม หลวงปู่ฝั้นนี้นุ่มนวล เหมือนช้างเดินลงทุ่งนา ท่านอาจารย์ฝั้นกิริยาอาการของท่านนุ่มนวล สำหรับพ่อแม่ครูจารย์มั่นนี้ไปอีกแบบหนึ่งที่ไม่มีใครเหมือน"

หลวงตาท่านพูดถึงพระธาตุของครูบาอาจารย์องค์ต่าง ๆ แล้วเน้นลงมาถึงสถานที่ปฏิบัติธรรมอันเป็นที่เกิดพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ซึ่งตรงกับในพระไตรปิฎกที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสแก่ภิกษุในการปฏิบัติภาวนาให้พิจารณา ขน ผม เล็บฟัน หนัง และให้พระอุปัชฌาย์บอกสอนแก่ภิกษุใหม่ดังนี้ "นั้นป่าเขา นั้นโคนไม้ นั้นเรือนว่าง อันเป็นที่สงบสงัด จงบำเพ็ญอยู่เช่นนั้นจนตลอดชีวิตเทอญ"

พระธาตุหลวงตา มีพระธาตุเสด็จมาเพิ่ม (สีขาวและสีเขียวขนาดเล็ก)

พระธาตุจากเมรุหลวงตามหาบัว เป็นส่วนที่ลูกศิษย์หลวงตาเก็บได้และนำมาบูชาและได้เสด็จเพิ่ม

พระธาตุจากเมรุหลวงตามหาบัว
พระธาตุจากเมรุหลวงตามหาบัวอีกลักษณะ มีสีขาวขุ่นและขาวใส หลังจากเก็บมาบูชาก็เสด็จเพิ่มอีก
ทันตธาตุ(ฟัน)หลวงตามหาบัว เป็นฟันซึ่ที่หลุดออกระหว่างท่านพักรักษาตัวอยู่ที่วัดป่าบ้านตาดและได้มอบให้พระเก็บไว้ ซึ่งมีลักษณะเป็นมันเงาเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดังภาพ


พระธาตุเกิดจากชานหมากหลวงตามหาบัว ส่วนของชานหมากหากดูด้วยตาเปล่าจะมีขนาดเล็กว่านี้ เห็นเป็นเศษหมากและส่วนที่มีสีขาว เป็นประกายเมื่อโดนแสงไฟ น้ำหมากสีแดงได้หายไปกลายไปเป็นองค์กลมสีแดงชมพู 

ในส่วนขอชานหมากหลวงตา เมื่อใช้เลนส์กำลังขยายสูงถ่าย ปรากฎว่ามีผลึกสีขาวใสเล็ก ๆ สีเขียวอ่อน ๆ สีแดง สีเหลือง ปะปนกันอยู่จำนวนมาก

อีกภาพ พบว่ามีพระธาตุองค์กลมใสอยู่ทางด้านล่างซ้ายของภาพ (ขณะถ่ายไม่เห็นจึงไม่ได้โฟกัสไปที่ตำแหน่งน้ัน)

พระธาตุเกิดบนผ้าจีวรของหลวงตามหาบัว ติดบนเนื้อผ้า

พระบุพโพ-โลหิตของหลวงตา(น้ำเหลือง-เลือด) พระธาตุนี้มาจากก้อนสำลีที่ทำแผลหลวงตา ซึ่งมีคราบน้ำเหลืองและเลือดติดอยู่  ซึ่งทางหมอที่ทำแผลถวายหลวงตาปกติก็จะทิ้งลงถุงดำ แต่มีผู้ขอนำไปเก็บไว้ ต่อมาได้แห้งและเกิดเป็นประกายสีเหลืองสวยงาม จึงได้แกะออกจากสำลีพบมีสัณฐานกลมสีเหลืองซึ่งคาดว่ามาจากน้ำเหลืองขององค์ท่าน ส่วนผลึกสีแดงชมพูคาดว่ามาจากน้ำเลือดที่แต่เดิมติดอยู่กับสำลี

พระบุพโพ-โลหิตของหลวงตา ชุดเดิม แต่ถ่ายโดยใช้ไฟแฟลช จะเห็นความโปร่งแสงของพระธาตุ

พระบุพโพธาตุ(น้ำเหลือง) เป็นภาพพระธาตุที่ผู้เขียนได้มาจากหนังสือพิมพ์ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ซึ่งจากภาพมิได้บ่งอบอกลักษณะของพระธาตุแต่อย่างใด  แต่ในเนื้อข่าวได้ลงไว้ว่าเป็นพระธาตุซึ่งทำให้ผู้เขียนสงสัยและไม่แน่ใจ

ต่อมา ผู้เขียนได้ไปตามสืบหาผู้เก็บรักษา และได้พบจึงขออนุญาตถ่ายรูป
(กว่าจะตามพบและได้ถ่ายก็ในต้นเดือนสิงหาคม 2554 )

พระบุพโพธาตุ(น้ำเหลือง) นี้ เมื่อมองด้วยตาเปล่าจะไม่เห็นความแปลกพิเศษแต่อย่างใด แต่เมื่อใช้แสงไฟฉายแรงสูงส่อง ก็จะเห็นประกายเล็ก ๆ ระยิบระยับมากมาย ดูสวยงามมาก

พระบุพโพธาตุ(น้ำเหลือง)ของหลวงตามหาบัว ต่อมาผู้เขียนลองใช้เลนส์พิเศษถ่ายขยายดูเนื้อพระธาตุนี้ ก็พบว่าเป็นลักษณะคล้ายไข่ปลาขนาดเล็กมาก มีทั้งสีเหลืองอ่อน เหลืองเข้ม และสีขาว มากมาย  ซึ่งไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้

ภาพขยาย

พระบุพโพธาตุ(น้ำเหลือง) จากผะอบเดียวกัน แต่มีสีเหลืองเข้ม

พระโลหิตธาตุของหลวงตามหาบัว

อัฐิหลวงตามหาบัวแปรเป็นพระธาตุ ที่ผ่านมาพระธาตุที่ผู้เขียนได้นมัสการก็จะมีการแปรลักษณะเป็นพระธาตุเรียบร้อยแล้วโดยไม่เหลือร่องรอยของชิ้นส่วนเดิมของร่างกาย(เช่นกระดูก) แต่พระธาตุองค์นี้เป็นลักษณะที่ผู้เขียนต้องการพบเห็นมากที่สุด เนื่องจากส่วนหนึ่งยังเป็นอัฐิ(กระดูก) อีกส่วนใสเป็นพระธาตุสีเขียวมรกตมีสัณฐานกลมสวยงามมาก ซึ่งจากที่พิจารณาดูอัฐิชิ้นนี้ไม่ใหญ่นัก หากมองด้วยตาเปล่าในที่แสงสว่างไม่มากก็จะมองไม่เห็นความโปร่งแสงของสีมรกตชัดเจน ลักษณะทั่วไปก็เหมือนอัฐิธรรมดา แต่เมื่อมองผ่านแสงไฟฉายหรือผ่านไฟแฟลชจะเห็นตรงส่วนที่โค้งกลมมีลักษณะใสเหมือนลูกแก้วสีมรกตสวยงามมาก ซึ่งทำให้ผู้เขียนหายสงสัยในเรื่องพระธาตุโดยสิ้นเชิงว่าเกิดมาจากอัฐิ (กระดูก)ได้จริง ๆ 

เกศาหลวงตามหาบัว(ผม) มีบางส่วนที่มีลักษณะคล้ายผลึกเล็ก ๆ ใส ๆ ซึ่งเป็นลักษณะของพระธาตุ เห็นได้ด้วยตาเปล่า

ภาพขยายพระธาตุจากเกศาหลวงตามหาบัว มีลักษณะใส รวมทั้งเส้นเกศาด้วย

พระธาตุจากเกศาหลวงตามหาบัว มีลักษณะสวยงามมาก

ยังมีภาพพระธาตุหลวงตาอีกมากมาย แต่จะขออนุญาตนำมาลงในวันหน้า

ขอบคุณทุกท่านที่รับชม


ที่มา www.doisaengdham.org

การให้ทานในแบบของพุทธศาสนา

ในสเตตัสก่อนผมเขียนไว้ไม่ครบ
อาจทำให้หลายท่านเข้าใจผิดบางประเด็น
จึงขอแจกแจงให้ละเอียดขึ้นครับ

เมื่อพูดถึง ‘การให้ทานในแบบของพุทธ’
ต้องเข้าใจว่าไม่ได้หมายถึงการถวายสังฆทาน
แต่มุ่งเอา ‘จิตคิดให้ เพื่อสละความตระหนี่’ เป็นหลัก

แต่เมื่อกล่าวถึงอานิสงส์แก่ผู้ให้และผู้รับ
นับเอาความสุข ความเจริญ
ที่ผลิดอกออกผลในปัจจุบันกาลและอนาคตกาล
พระพุทธเจ้าก็ตรัสจำแนกแจกแจงไว้ดังนี้

ทานอันดับหนึ่ง ไม่มีอะไรชนะได้ คือธรรมทาน
(สัพทานัง ธัมมทานัง ชินาติ)
ธรรมทานคือการให้ความรู้ ให้มุมมอง ให้แรงบันดาลใจ
ที่จะนำไปสู่การมีที่พึ่งให้ตนเอง ทั้งในการใช้ชีวิตนี้
และการเวียนว่ายตายเกิดต่อๆไปในชีวิตหน้า
ยกเอาสิ่งที่จะทำให้เห็นชัดว่าทำไมธรรมทานจึงเป็นที่หนึ่ง
ต้องดูจากที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
การตอบแทนพ่อแม่อันสมน้ำสมเนื้อกับที่ท่านให้ชีวิตเรา
คือการทำให้พ่อแม่ (ซึ่งยังไม่เข้าใจธรรม)
ได้เกิดศรัทธาที่ตั้งมั่นในธรรม มีใจตั้งมั่นในทานและศีล
ถ้าทำได้ ก็เรียกว่าเป็นการให้ธรรมเป็นทานอันยิ่งใหญ่ที่สุด
เพราะช่วยผู้ให้กำเนิดชีวิตเรา ปลอดภัยในการเดินทางไกล
ต่อให้ลูกกตัญญู แบกพ่อแม่ไว้บนบ่าให้อึฉี่รดหัวเราตลอดอายุขัย
ก็ยังไม่ชื่อว่าตอบแทนได้เท่าการให้ธรรมเป็นทานแก่พวกท่าน

ทานอันดับสอง คือการรักษาศีล
เพราะเมื่อรักษาศีลแล้ว
สัตว์ที่มีสิทธิ์ได้รับความเดือดร้อนจากการเบียดเบียนของเรา
หรือคู่เวรที่จำต้องถูกเราประหัตประหารหรือทำร้ายกัน
ก็จะได้รับการปลดปล่อยจากเขตอันตราย
หรือได้รับการปกป้องให้ปลอดภัยจากศีลของเรา
แม้เขาทำให้เราผูกใจเจ็บ ก็ได้รับอภัยทานจากเรา
ไม่ต้องตีกันไปตีกันให้เจ็บช้ำน้ำใจกันยืดเยื้อต่อไปอีก

ทานอันดับสาม คือการให้ทรัพย์ ให้แรงงาน ให้กำลังสมอง
เมื่อให้สิ่งที่เรามีเป็นทาน ย่อมได้ชื่อว่าสละความหวงแหน
อันเป็นเหตุให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น
นับเป็นต้นทางหลุดพ้นจากการยึดติดผิดๆ

ประเด็นคือการให้ทรัพย์ ให้แรงงาน ให้กำลังสมองนั้น
ถ้าจะดูว่าให้กับใครจัดว่าให้ผลใหญ่ที่สุด
ก็ต้องมองว่า ‘ผู้มีจิตบริสุทธิ์’ หรือ ‘ผู้พยายามทำจิตให้บริสุทธิ์’
คือผู้ที่ทำให้เรารู้สึกดีที่สุด
ลองเทียบดูระหว่างช่วยพระกับช่วยโจร
อย่างไหนทำให้ปลื้มมากกว่ากัน

การทำทานกับสมณะในพุทธศาสนานั้น ถือว่าเลิศสุด
(ย้ำว่าในมุมมองของพุทธเรา)
ดังเช่นที่ในพระไตรปิฎกกล่าวไว้หลายแห่งว่า
เป็นเหตุให้มีจิตผูกพันกับพุทธศาสนา
เป็นปัจจัยให้เข้าถึงมรรคผลนิพพาน

ทั้งนี้ทั้งนั้น การช่วยทุกอย่าง มีผลดีหมด
อย่างเช่น ช่วยกลับใจโจร
ก็ได้ผลเป็นความไม่เดือดร้อนของเราเองในปัจจุบัน
และในกาลข้างหน้าเมื่อเราหลงผิด
ก็ย่อมมีผู้มาช่วยเปลี่ยนความคิดให้เห็นถูกเห็นชอบได้ง่าย เป็นต้น ครับ

ที่มา Dungtrin