"การให้ทานในแบบของพระพุทธศาสนา"
สามารถอ่านได้ที่ด้านล่างเว็บนะครับ

วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2556

พระพุทธเจ้าประสูติแล้วออกเดิน ๗ ก้าวจริงๆ



ถาม : ตอนพระพุทธเจ้าประสูติเดิน ๗ ก้าว หมายถึงเดินทางไป ๗ แคว้น ไม่ได้ก้าวจริงๆ

ตอบ: เดินจริงๆ จ้ะ เดินแบบเกรงใจมากด้วย ยังดีที่ไม่ย่ำต๊อกไปทั่วชมพูทวีปก่อน คนเขาทำไม่ได้ ก็เลยพยายามดึงพระพุทธเจ้าลงมาให้เป็นคนธรรมดาทั่วไป พระโพธิสัตว์ที่สร้างบารมีมาต่ำสุด ๔ อสงไขยกับแสนมหากัป ความสามารถของท่านเกินกว่าที่เราจะคิดถึง อรรถกถาท่านอธิบายไว้ว่า

-  สัตว์บางจำพวก ขณะจุติไม่รู้ตัว ขณะเคลื่อนไปไม่รู้ตัว ขณะลงสู่ครรภ์ไม่รู้ตัว ขณะอยู่ในครรภ์ไม่รู้ตัว ต่อจนคลอดออกมาถึงรู้ตัว อันนี้แย่ที่สุดแล้ว และเป็นบุคคลส่วนใหญ่ด้วย
 สัตว์บางจำพวก ขณะจุติไม่รู้ตัว ขณะเคลื่อนไปไม่รู้ตัว ขณะลงสู่ครรภ์ไม่รู้ตัว ขณะอยู่ในครรภ์รู้ตัว คลอดออกมาก็รู้ตัว
 สัตว์บางจำพวก ขณะจุติไม่รู้ตัว ขณะเคลื่อนไปไม่รู้ตัว ขณะลงสู่ครรภ์รู้ตัว ขณะอยู่ในครรภ์รู้ตัว คลอดออกมาก็รู้ตัว
 สัตว์บางจำพวก ขณะจุติไม่รู้ตัว ขณะเคลื่อนไปรู้ตัว ขณะลงสู่ครรภ์รู้ตัว ขณะอยู่ในครรภ์รู้ตัว คลอดออกมาก็รู้ตัว
 สัตว์บางจำพวกขณะจุติก็รู้ตัว ขณะเคลื่อนไปก็รู้ตัว ขณะลงสู่ครรภ์มารดาก็รู้ตัว ขณะอยู่ในครรภ์มารดาก็รู้ตัว คลอดออกมาก็รู้ตัว

คราวนี้การที่ท่านรู้ตลอด พัฒนาการของท่านก็เลยไม่มีการโดนสกัดขัดขวาง ทุกอย่างทำได้เป็นปกติ เพราะฉะนั้นที่ท่านบอกว่า เกิดมาแล้วเดินได้ ๗ ก้าว เปล่งอภิสวาจาว่าเราเป็นผู้เลิศที่สุดในโลก เราเป็นผู้ที่เจริญที่สุดในโลก เราเป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา ขึ้นชื่อว่าการเกิดไม่มีสำหรับเราอีกแล้ว ถ้าคนที่มีสติรู้ตัวอยู่ตลอด พัฒนาการไม่โดนขัดขวางไป ก็ทำได้อยู่แล้ว แล้วเรื่องเดินก็ยิ่งหมูๆ ใหญ่ แต่คราวนี้เขาไม่เชื่อตรงจุดนี้ แล้วก็ไม่รู้ รู้ไม่ถึงตรงจุดนี้ เขาก็ปฏิเสธ มันก็เรื่องปกติ ตัวใครตัวมัน เราก็เลือกทางไปของเรา เขาก็เลือกทางไปของเขา

สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เดือนมกราคม ๒๕๔๗(ต่อ)
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ

ที่มา - http://board.palungjit.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

การให้ทานในแบบของพุทธศาสนา

ในสเตตัสก่อนผมเขียนไว้ไม่ครบ
อาจทำให้หลายท่านเข้าใจผิดบางประเด็น
จึงขอแจกแจงให้ละเอียดขึ้นครับ

เมื่อพูดถึง ‘การให้ทานในแบบของพุทธ’
ต้องเข้าใจว่าไม่ได้หมายถึงการถวายสังฆทาน
แต่มุ่งเอา ‘จิตคิดให้ เพื่อสละความตระหนี่’ เป็นหลัก

แต่เมื่อกล่าวถึงอานิสงส์แก่ผู้ให้และผู้รับ
นับเอาความสุข ความเจริญ
ที่ผลิดอกออกผลในปัจจุบันกาลและอนาคตกาล
พระพุทธเจ้าก็ตรัสจำแนกแจกแจงไว้ดังนี้

ทานอันดับหนึ่ง ไม่มีอะไรชนะได้ คือธรรมทาน
(สัพทานัง ธัมมทานัง ชินาติ)
ธรรมทานคือการให้ความรู้ ให้มุมมอง ให้แรงบันดาลใจ
ที่จะนำไปสู่การมีที่พึ่งให้ตนเอง ทั้งในการใช้ชีวิตนี้
และการเวียนว่ายตายเกิดต่อๆไปในชีวิตหน้า
ยกเอาสิ่งที่จะทำให้เห็นชัดว่าทำไมธรรมทานจึงเป็นที่หนึ่ง
ต้องดูจากที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
การตอบแทนพ่อแม่อันสมน้ำสมเนื้อกับที่ท่านให้ชีวิตเรา
คือการทำให้พ่อแม่ (ซึ่งยังไม่เข้าใจธรรม)
ได้เกิดศรัทธาที่ตั้งมั่นในธรรม มีใจตั้งมั่นในทานและศีล
ถ้าทำได้ ก็เรียกว่าเป็นการให้ธรรมเป็นทานอันยิ่งใหญ่ที่สุด
เพราะช่วยผู้ให้กำเนิดชีวิตเรา ปลอดภัยในการเดินทางไกล
ต่อให้ลูกกตัญญู แบกพ่อแม่ไว้บนบ่าให้อึฉี่รดหัวเราตลอดอายุขัย
ก็ยังไม่ชื่อว่าตอบแทนได้เท่าการให้ธรรมเป็นทานแก่พวกท่าน

ทานอันดับสอง คือการรักษาศีล
เพราะเมื่อรักษาศีลแล้ว
สัตว์ที่มีสิทธิ์ได้รับความเดือดร้อนจากการเบียดเบียนของเรา
หรือคู่เวรที่จำต้องถูกเราประหัตประหารหรือทำร้ายกัน
ก็จะได้รับการปลดปล่อยจากเขตอันตราย
หรือได้รับการปกป้องให้ปลอดภัยจากศีลของเรา
แม้เขาทำให้เราผูกใจเจ็บ ก็ได้รับอภัยทานจากเรา
ไม่ต้องตีกันไปตีกันให้เจ็บช้ำน้ำใจกันยืดเยื้อต่อไปอีก

ทานอันดับสาม คือการให้ทรัพย์ ให้แรงงาน ให้กำลังสมอง
เมื่อให้สิ่งที่เรามีเป็นทาน ย่อมได้ชื่อว่าสละความหวงแหน
อันเป็นเหตุให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น
นับเป็นต้นทางหลุดพ้นจากการยึดติดผิดๆ

ประเด็นคือการให้ทรัพย์ ให้แรงงาน ให้กำลังสมองนั้น
ถ้าจะดูว่าให้กับใครจัดว่าให้ผลใหญ่ที่สุด
ก็ต้องมองว่า ‘ผู้มีจิตบริสุทธิ์’ หรือ ‘ผู้พยายามทำจิตให้บริสุทธิ์’
คือผู้ที่ทำให้เรารู้สึกดีที่สุด
ลองเทียบดูระหว่างช่วยพระกับช่วยโจร
อย่างไหนทำให้ปลื้มมากกว่ากัน

การทำทานกับสมณะในพุทธศาสนานั้น ถือว่าเลิศสุด
(ย้ำว่าในมุมมองของพุทธเรา)
ดังเช่นที่ในพระไตรปิฎกกล่าวไว้หลายแห่งว่า
เป็นเหตุให้มีจิตผูกพันกับพุทธศาสนา
เป็นปัจจัยให้เข้าถึงมรรคผลนิพพาน

ทั้งนี้ทั้งนั้น การช่วยทุกอย่าง มีผลดีหมด
อย่างเช่น ช่วยกลับใจโจร
ก็ได้ผลเป็นความไม่เดือดร้อนของเราเองในปัจจุบัน
และในกาลข้างหน้าเมื่อเราหลงผิด
ก็ย่อมมีผู้มาช่วยเปลี่ยนความคิดให้เห็นถูกเห็นชอบได้ง่าย เป็นต้น ครับ

ที่มา Dungtrin