"การให้ทานในแบบของพระพุทธศาสนา"
สามารถอ่านได้ที่ด้านล่างเว็บนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556

การรักษาศีลข้อที่ ๓ ในศีล ๘



ถาม : ศีลข้อสามในศีลแปด เป็นอย่างไรครับ ?

ตอบ : ห่างผู้หญิง ๓ วาได้จะดี ใกล้กว่านั้นไม่ได้ ใกล้กว่านั้นเดี๋ยวเผลอแตะ..! จริงๆ แล้ว อพฺรหฺมจริยา หมายถึงการที่เราทรงอารมณ์ภาวนาอยู่โดยที่ไม่ส่งใจออกนอกเลย เขาจึงเรียกว่า จริยาอย่างพรหม เพราะพรหมท่านทรงฌานอยู่ตลอดเวลา ในเมื่อทรงฌานอยู่ตลอดเวลา กามราคะก็เกิดไม่ได้ เขาถึงได้เรียกว่าประพฤติพรหมจรรย์ เพราะฉะนั้น..ถ้าตั้งใจจะเอาอพฺรหฺมจริยาจริงๆ ก็แปลว่าต้องไม่หลุดจากฌานเลย

ถาม : แล้วที่เขาไปถืออุโบสถศีล ?

ตอบ : สมัยก่อนถ้าเขาถืออุโบสถศีลก็คือไปนอนที่วัดเลย เว้นจากเรื่องพวกนี้โดยตรง ปัจจุบันนี้จะมีขาประจำอยู่ที่วัดท่าขนุนประมาณ ๓๐ คน วันพระก็จะไปนอนค้างที่วัดเลย

ถาม : แล้วนึกถึงกามสัญญา ?

ตอบ : เรื่องนึกถึงหรือจิตประหวัดถึงเขาเรียกว่า กามสัญญา นับเป็นเรื่องปกติ แต่กายวาจาต้องงดเว้นให้ได้ ไม่ไปพูดจาเกี้ยวเขา ไม่ไปแตะต้องเขาอะไรแบบนั้น

ถาม : ห่าง ๓ วาหรือครับ ?

ตอบ : ๓ วา ตาก็ไม่มอง ปากก็ห้ามพูด อกจะแตกตาย..!

ถาม : อย่างนี้ต้องปฏิบัติในศีล สมาธิ ?

ตอบ : ถ้าไม่มีสมาธิจะตัดตัวนี้ยาก ถ้าจะตัดกามราคะ อย่างน้อยสมาธิต้องทรงตัว

ถาม : ถ้าไปล่วงศีลข้อนี้ใจก็เศร้าหมอง ?

ตอบ : เศร้าหมองก็เป็นเรื่องปกติ เพราะเรายังห้ามความคิดไม่ได้ เพราะฉะนั้น..ถ้าทรงฌานอยู่ความคิดไปในกามก็ไม่มี อยู่กับการภาวนา หลุดออกมาแล้วค่อยฟุ้งใหม่ ตอนที่ทรงฌานอยู่ก็เอาตัวรอดไว้ก่อน ถ้าไม่มีสมาธิส่วนใหญ่แล้วพระเณรอยู่ไม่ได้หรอก


สนทนากับพระครูวิลาศกาญจนธรรม (พระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ)
ณ บ้านวิริยบารมี เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๖

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

การให้ทานในแบบของพุทธศาสนา

ในสเตตัสก่อนผมเขียนไว้ไม่ครบ
อาจทำให้หลายท่านเข้าใจผิดบางประเด็น
จึงขอแจกแจงให้ละเอียดขึ้นครับ

เมื่อพูดถึง ‘การให้ทานในแบบของพุทธ’
ต้องเข้าใจว่าไม่ได้หมายถึงการถวายสังฆทาน
แต่มุ่งเอา ‘จิตคิดให้ เพื่อสละความตระหนี่’ เป็นหลัก

แต่เมื่อกล่าวถึงอานิสงส์แก่ผู้ให้และผู้รับ
นับเอาความสุข ความเจริญ
ที่ผลิดอกออกผลในปัจจุบันกาลและอนาคตกาล
พระพุทธเจ้าก็ตรัสจำแนกแจกแจงไว้ดังนี้

ทานอันดับหนึ่ง ไม่มีอะไรชนะได้ คือธรรมทาน
(สัพทานัง ธัมมทานัง ชินาติ)
ธรรมทานคือการให้ความรู้ ให้มุมมอง ให้แรงบันดาลใจ
ที่จะนำไปสู่การมีที่พึ่งให้ตนเอง ทั้งในการใช้ชีวิตนี้
และการเวียนว่ายตายเกิดต่อๆไปในชีวิตหน้า
ยกเอาสิ่งที่จะทำให้เห็นชัดว่าทำไมธรรมทานจึงเป็นที่หนึ่ง
ต้องดูจากที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
การตอบแทนพ่อแม่อันสมน้ำสมเนื้อกับที่ท่านให้ชีวิตเรา
คือการทำให้พ่อแม่ (ซึ่งยังไม่เข้าใจธรรม)
ได้เกิดศรัทธาที่ตั้งมั่นในธรรม มีใจตั้งมั่นในทานและศีล
ถ้าทำได้ ก็เรียกว่าเป็นการให้ธรรมเป็นทานอันยิ่งใหญ่ที่สุด
เพราะช่วยผู้ให้กำเนิดชีวิตเรา ปลอดภัยในการเดินทางไกล
ต่อให้ลูกกตัญญู แบกพ่อแม่ไว้บนบ่าให้อึฉี่รดหัวเราตลอดอายุขัย
ก็ยังไม่ชื่อว่าตอบแทนได้เท่าการให้ธรรมเป็นทานแก่พวกท่าน

ทานอันดับสอง คือการรักษาศีล
เพราะเมื่อรักษาศีลแล้ว
สัตว์ที่มีสิทธิ์ได้รับความเดือดร้อนจากการเบียดเบียนของเรา
หรือคู่เวรที่จำต้องถูกเราประหัตประหารหรือทำร้ายกัน
ก็จะได้รับการปลดปล่อยจากเขตอันตราย
หรือได้รับการปกป้องให้ปลอดภัยจากศีลของเรา
แม้เขาทำให้เราผูกใจเจ็บ ก็ได้รับอภัยทานจากเรา
ไม่ต้องตีกันไปตีกันให้เจ็บช้ำน้ำใจกันยืดเยื้อต่อไปอีก

ทานอันดับสาม คือการให้ทรัพย์ ให้แรงงาน ให้กำลังสมอง
เมื่อให้สิ่งที่เรามีเป็นทาน ย่อมได้ชื่อว่าสละความหวงแหน
อันเป็นเหตุให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น
นับเป็นต้นทางหลุดพ้นจากการยึดติดผิดๆ

ประเด็นคือการให้ทรัพย์ ให้แรงงาน ให้กำลังสมองนั้น
ถ้าจะดูว่าให้กับใครจัดว่าให้ผลใหญ่ที่สุด
ก็ต้องมองว่า ‘ผู้มีจิตบริสุทธิ์’ หรือ ‘ผู้พยายามทำจิตให้บริสุทธิ์’
คือผู้ที่ทำให้เรารู้สึกดีที่สุด
ลองเทียบดูระหว่างช่วยพระกับช่วยโจร
อย่างไหนทำให้ปลื้มมากกว่ากัน

การทำทานกับสมณะในพุทธศาสนานั้น ถือว่าเลิศสุด
(ย้ำว่าในมุมมองของพุทธเรา)
ดังเช่นที่ในพระไตรปิฎกกล่าวไว้หลายแห่งว่า
เป็นเหตุให้มีจิตผูกพันกับพุทธศาสนา
เป็นปัจจัยให้เข้าถึงมรรคผลนิพพาน

ทั้งนี้ทั้งนั้น การช่วยทุกอย่าง มีผลดีหมด
อย่างเช่น ช่วยกลับใจโจร
ก็ได้ผลเป็นความไม่เดือดร้อนของเราเองในปัจจุบัน
และในกาลข้างหน้าเมื่อเราหลงผิด
ก็ย่อมมีผู้มาช่วยเปลี่ยนความคิดให้เห็นถูกเห็นชอบได้ง่าย เป็นต้น ครับ

ที่มา Dungtrin